ทรัพยากรประกอบการเรียนรู้ 2/2563
ชื่อวิชา สุนทรียภาพแห่งชีวิต (Aesthetics in Life)
รหัสวิชา GE634107 หมวดวิชาศึกษาทั่วไป
สาขาวิชาการพัฒนาชีวิตและประกอบการชุมชน
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563)
สำนักหอสมุดและสารสนเทศ สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน
(รวมจำนวน 20 ชื่อเรื่อง)
***ขอขอบคุณแหล่งที่มาของเอกสารอ่านประกอบในรูปแบบ E-book – PDF***
บรรณนิทัศน์
ชื่อเอกสาร : เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา สุนทรียภาพแห่งชีวิต (Aesthetics in Life) รหัสวิชา GE634107
สาระสังเขป : เอกสารฉบับนี้ มุ่งให้ผู้เรียนศึกษาสุนทรียศาสตร์ คุณค่าสุนทรียภาพระหว่างบุคคลกับธรรมชาติหรืองานศิลปะ การคิดเชิงบวก การสร้างความสุขในชีวิตและการทำงาน โดยนำเสนอกิจกรรมที่สร้างสุนทรียภาพของตนอง เมื่อเรียนวิชานี้ ผู้เรียนสามารถมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสุนทรียศาสตร์ ตระหนักและเห็นคุณค่าสุนทรียภาพแห่งชีวิต คิดเชิงบวกและมีความสุขในชีวิต
บรรณานุกรม: สามารถ จันทร์สูรย์, ปรีชา รักเมือง และวิเชียร วชิรเสรีชัย. (2564). เอกสารประกอบการเรียนการสอน วิชา สุนทรียภาพแห่งชีวิต (Aesthetics in Life) รหัสวิชา GE6341. สมุทรสงคราม : คณะศิลปศาสตร์ สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน.
สาระสังเขป:
รวบรวมความรู้เกี่ยวกับสุนทรียศาสตร์และสุนทรียภาพ มิติหนึ่งของชีวิต ความหมาย ความเข้าใจเกี่ยวกับการเรียนรู้สุนทรียศาสตร์ ประสบการเชิงสุนทรียภาพ แหล่งประสบการเชิงสุนทรียภาพ คุณค่าสุนทรียภาพกับการพัฒนามนุษย์
บรรณานุกรม:
จตุรัตน์ กีรติวุฒิพงศ์. (ม.ป.ป.). สุนทรียศาสตร์และสุนทรียภาพ : มิติหนึ่งของชีวิต. (ม.ป.ท.: ม.ป.พ.).
สาระสังเขป:
วิจัยชิ้นนี้ปฏิบัติการสร้างสรรค์คุณค่าสุนทรียภาพของทัศนธาตุทางทัศนศิลป์ ศึกษาและวิเคราะห์คุณค่าสุนทรียภาพของทัศนธาตุทางทัศนศิลป์ นำเสนอคุณค่าสุนทรีภาพ และใช้ผลงานจากการวิจัยเชิงสร้างสรรค์เป็นเครื่องมืออบรมบ่มเพาะแก่นักศึกษา คราอาจารย์ ตลอดจนผู้สนใจทั่วไป
บรรณานุกรม:
จุรัตน์ กีรติวุฒิพงศ์. (2558). สุนทรียภาพของทัศนธาตุทางทัศนศิลป์ : ความบันดาลใจจากโนรา. รายงาน วิจัยฉบับสมบูรณ์ ประจำปีงบประมาณ 2555 สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา มหาวิทยาลัย ราชภัฏนครศรีธรรมราช.
สาระสังเขป:
เอกสารฉบับนี้รวบรวมความรู้ถึงความหมายของสุนทรียศาสตร์ ศึกษาหลักของความจริง หลักของความรู้ หลักการของคุณค่า สามารถนำความรู้ ความเข้าใจอธิบายผลงานทางศิลปะที่มนุษย์ช่วยกันสร้างสรรค์ขึ้นว่า มีความงามหรือไม่งามอย่างไร มีความบกพร่องอะไรบ้างที่ควรปรับปรุงแก้ไข มีคุณค่าที่เอื่ออำนวยต่อสังคมอย่างไร
บรรณานุกรม:
พระมหาจิตติภัทร อจลธมฺโม และพระหัสดี กิตฺตินนฺโท. (ม.ป.ป.). วิชาสุนทรียศาสตร์ (AESTHETICS). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา
สาระสังเขป:
รวบรวมความรู้เกี่ยวกับสุนทรียศาสตร์ การรับรู้ความงามที่ทำให้มนุษย์พ้นทุกข์ได้และเป็นอิสระจากสิ่งร้อยรัดทั้งปวง ความงามย่อมขึ้นอยู่กับจิตใจที่เข้าถึงความจริงของปรากฏการณ์ต่างๆ ความจริงดังกล่าวคือ กฎอนิจจัง กฎอริยสัจ กฎอิทัปปัจจยตา หรือกฎอนัตตา
บรรณานุกรม:
สโรชา แพร่ภาษา. (ม.ป.ป.). สุนทรียศาสตร์ในสายตาของนักคิดสำคัญสามยุค. (ม.ป.ท.: ม.ป.พ.)
สาระสังเขป:
บทความนี้กล่าวถึงการทำงานเพื่อมุ่งสู่องค์กรที่เป็นเลิศ การบริหารแนวใหม่ การบริหารแนวใหม่ด้วยความคิดเชิงบวก บุคคลที่มีความคิดเชิงบวก ทักษะการมองโลกในแง่ดี วิธีการฝึกคิดเชิงบวก ความคิดเชิงบวกกับการทำงาน การเสริพลังด้วยความคิดเชิงบวกในการทำงาน
บรรณานุกรม:
ประภาศรี มธุลาภรังสรรค์. (2558, 23 มิถุนายน). การพัฒนาความคิดเชิงบวกเพื่อประสิทธิภาพในการทำงาน. ค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2563, จาก http://203.131.219.167/km2559/2015/06/23
สาระสังเขป:
กล่าวถึงความหมายของ POSITIVE THINGKING แนวคิดของ POSITIVE THINGKING กรณีศึกษา POSITIVE THINGKING การนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในงานด้านอาชีวอนามัยและเวชศาสตร์สิ่งแวดล้อม การนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในหน่วยงานของตนเองในฐานะผู้บริหารระดับสูงขององค์กร
บรรณานุกรม:
กฤษณพรรณ พึ่งตน. (ม.ป.ป.). POSITIVE THINGKING. (ม.ป.ท.: ม.ป.พ.)
สาระสังเขป:
บทความนี้อธิบายถึงการพัฒนาจุดแข็งของตนเอง การปรับความคิดให้เป็นบวกและการกำหนเป้าหมายในชีวิต ประยุกต์ใช้แนวคิดการสร้างความสุขด้วยจิตวิทยาเชิงบวกร่วมกับการดูแลสุขภาพ
บรรณานุกรม:
เกสร มุ้ยจีน. (2559). การสร้างความสุขด้วยจิตวิทยาเชิงบวก. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 24(4), 673-681.
.
สาระสังเขป:
หนังสือเล่มนี้รวบรวมความรู้เกี่ยวกับความหมายและตัวชี้วัดคุณภาพชีวิต การทำงาน และความสุข เครื่องมือและการวัดคุณภาพชีวิตและความสุขของคนทำงาน การวัดความสุขด้วยเครื่องมือ HAPPINOMETER
บรรณานุกรม:
ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต และคณะ. (2556). คุณภาพชีวิตการทำงานและความสุข. นครปฐม : สถาบันวิจัย ประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
สาระสังเขป:
แนวทางการสร้างสุขของชุมชนนี้เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้เส้นทางการดำเนินงานสู่ชุมชนสร้างสุข โดยกระบวนการตำบลจัดการคุณภาพชีวิต นำหลักคิด เป้าหมาย และวิธีการปฏิบัติไปปรับใช้ให้เหมาะสมตามบริบท พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชน สู่ชุมชนสร้างสุข สุขกาย สุขใจ สุขเงิน
บรรณานุกรม:
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน กระทรวงสาธาณสุข. (ม.ป.ป.). แนว ทางการสร้างสุขของชุมชน. (ม.ป.ท.: ม.ป.พ.).
สาระสังเขป:
คู่มือเล่มนี้เป็นเครื่องมือสำคัญที่จะทำให้นักสร้างสุขที่ผ่านการอบรมและผู้ที่สนใจในการสร้างสุข ให้องค์กรได้ใช้เป็นแนวทางในการออกแบบประสบการณ์การทำงานที่ทำให้แก่บุคลากรในองค์กรทั้งสามารถทำงานอย่างมีความสุขและเติมโตงอกงามไปพร้อมกับงานที่ตนทำด้วย
บรรณานุกรม:
บุษบงก์ วิเศษพลชัย. (2561). คู่มือนักสร้างสุข. นนทบุรี : สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ (สวสส.) สำนักวิชาการ สาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.
สาระสังเขป:
หนังสือเล่มนี้ศึกษารวบรวม วิเคราะห์ และสังเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสภาพปัญหาการจัดการศึกษาและจัดทำข้อเสนอการบูรณาการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม กีฬา และภูมิปัญญากับการศึกษา เป็นการบูรณาการผู้เรียนรอบด้านทั้งกายใจและสติปัญญา มีพัฒนาการของสมองทั้งสองซีกที่สมดุล และได้รับการพัฒนาอย่างเติมศักยภาพ
บรรณานุกรม:
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). สมองซีกขวามีค่ามากกว่าที่คิด. กรุงเทพ : (หนังสืออิเล็กทรอนิกส์)
สาระสังเขป:
คู่มือเล่มนี้ เป็นเครื่องมือที่ใช้ประโยชน์ได้จริง เป็นเครื่องมือที่สื่อถึงความเอาใจใส่ขององค์กรที่มีต่อคนภายในองค์กร เป็นเครื่องมือที่แสดงถึงความห่วงใย ความผูกพัน ความร่วมมือ และความภาคภูมิใจของบุคคลทุกระดับในองค์กรที่มีต่อกันและกัน
บรรณานุกรม:
ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต และคนอื่นๆ. (2555). คู่มือการวัดความสุขด้วยตนเอง HAPPINOMETER. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
.
สาระสังเขป:
การคิดเชิงบวกเป็นตัวแปรที่บ่งบอกถึงการมีสุขภาพทางกายและจิตที่ดีของบุคคล อันจะนำไปสู่คุณลักษณะของบุคคลในหลายประการ เช่น การมีโอกาสประสบความสำเร็จในชีวิต การมีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น การมีความคิดสร้างสรรค์ เป็นต้น
บรรณานุกรม:
พิทักษ์ สุพรรโณภาพ. (2561). การคิดเชิงบวก : ตัวแปรในการพัฒนาชีวิต. Viridian e- journal, silpakorn university, 11(3), 1958-1978
สาระสังเขป:
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเครื่องมือวัดคุณภาพชีวิตในมิติความสุขและนำเครื่องมือวัดความสุขในระดับปัจเจก ที่พัฒนาขึ้นมาไปทดสอบเบื้องต้นกับกลุ่มตัวอย่าง เพื่อหาความสัมพันธ์และปัจจัยที่มีผลต่อความสุข
บรรณานุกรม:
บุญสม หรรษาศิริพจน์. (ม.ป.ป.) การพัฒนาเครื่องมือคุณภาพชีวิต: มิติความสุข. วารสารการเมือง การ บริหาร และกฎหมาย, ๕(๑), 107-129.
สาระสังเขป:
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งดุษฎีนิพนธ์เรื่อง ศึกษาวิเคราะห์การคิดเชิงบวกในการพัฒนาชีวิตตามหลัก พระพุทธศาสนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการคิดเชิงบวกในการพัฒนาชีวิตตามหลักทฤษฎีตะวันตกและตามหลักพระพุทธศาสนา บูรณาการการคิดเชิงบวกในการพัฒนาชีวิต
บรรณานุกรม:
ปถมพร ตะละภัฏ และคณะ. (2560). ศึกษาวิเคราะห์การคิดเชิงบวกในการพัฒนาชีวิตตามหลัก พระพุทธศาสนา. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์, ๑๓(๓), 280-291.
สาระสังเขป:
บทความนี้กล่าวถึงเรื่องราวการพิชิตความสำเร็จด้วยพลังคิดบวก การมีมุมมองต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในแง่ดี โดยไม่ขึ้นอยู่กับสถานการณ์นั้นว่าเป็นเช่นไร มองเห็นโอกาสและความเป็นไปได้ มากกว่าความยากลำบากและอุปสรรค์ มองเห็นความสำเร็จมากกว่าความล้มเหลว จนแสดงออกมาเป็นคำพูดและการกระทำเชิงบวกที่ส่งผลให้ประสบความสำเร็จในชีวิต
บรรณานุกรม:
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2554). พิชิตความสำเร็จด้วยพลัง “คิดบวก”. จุลสาร สุจริต, 11(40), 11-13.
สาระสังเขป:
หนังสือเล่มนี้เป็นการประมวลงานที่เกี่ยวกับการพัฒนาสติในองค์กร การพัฒนาจิตกับความสุขในองค์กร การเรียนรู้บนเส้นทางการพัฒนาจิตด้วยโปรแกรมสร้างสุขด้วสติในองค์กร
บรรณานุกรม:
ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์. (2560). สร้างสุขด้วยสติในองค์กร. พิมพ์ครั้งที่ 4. (ม.ป.ท.): บียอนด์ พับลิสซิ่ง.