Sat. Jul 27th, 2024

    เอกสารอ่านประกอบ หมวดวิชาศึกษาทั่วไป  วิชา สารสนเทศและการสื่อสารสังคมดิจิทัล

    ทรัพยากรประกอบการเรียนรู้  2/2563
    ชื่อวิชา สารสนเทศและการสื่อสารสังคมดิจิทัล
    (Digital Society Communication and Information)รหัสวิชา GE634102
      หมวดวิชาศึกษาทั่วไป
    สาขาวิชาการพัฒนาชีวิตและประกอบการชุมชน
    (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563)

    สำนักหอสมุดและสารสนเทศ สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน

      ***ขอขอบคุณแหล่งที่มาของเอกสารอ่านประกอบในรูปแบบ E-book – PDF***

    บรรณนิทัศน์

    ชื่อหนังสือ:      เท่าทันสื่อ สร้างเมืองด้วยมือของทุกคน MIDL For Inclusive Cities

    สาระสังเขป: หนังสือเล่มนี้รวบรวมความรู้เกี่ยวกับบทเรียนที่มีความหลากหลายของแต่ละพื้นที่ตลอดช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา ได้ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนแนวคิด ความเห็นและมุมมองตลอดจนการทดลองใช้เครื่องมือต่าง ๆ ในกระบวนการ MIDL for Inclusive Cities อย่างหลากหลาย โดยคำนึงถึงหัวใจสำคัญของการเสริมสร้างศักยภาพของพลเมืองได้แก่การให้ความสำคัญกับการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร เทคโนโลยีและสื่อ

    บรรณานุกรม: โสภิดา วีรกุลเทวัญ. (2563). เท่าทันสื่อ สร้างเมืองด้วยมือของทุกคน MIDL For Inclusive Cities. กรุงเทพฯ : สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน

    แหล่งที่มา: สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน ภายใต้ มูลนิธิส่งเสริมสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.)

    ชื่อหนังสือ: เท่าทันสื่อ : อำนาจในมือพลเมืองดิจิทัล

    สาระสังเขป:  หนังสือเล่มนี้รวบรวมความรู้เกี่ยวกับบทบาทของภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคพลเมืองทั้งในระดับองค์กร และระดับปัจเจกบุคคล ซึ่งมีส่วนอย่างสำคัญในการสร้างทักษะการรู้เท่าทันสื่อฯ เพื่อเปลี่ยนสถานะจากผู้ใช้เน็ต เป็นพลเมืองดิจิทัล ที่มีความตื่นรู้และสร้างความเปลี่ยนแปลงในสังคม ประสบการณ์จากสหรัฐอเมริกา ที่ คุณ Pam Steager นักวิจัยอาวุโส ประจำ Media Education Lab นำเสนอกรอบการทำงานเรื่องรู้เท่าทันสื่อในระบบการศึกษา

    บรรณานุกรม: โสภิดา วีรกุลเทวัญ. (2561). เท่าทันสื่อ : อำนาจในมือพลเมืองดิจิทัล. กรุงเทพฯ : สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน.

    แหล่งที่มา: สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน ภายใต้ มูลนิธิส่งเสริมสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.)

    ชื่อหนังสือ: รู้ทันสื่อ

    สาระสังเขป: หนังสือเล่มนี้รวบรวมความรู้เกี่ยวกับแนวคิดการรู้เท่าทันสื่อ ประสบการณ์การรู้เท่าทันสื่อ บทความคัดสรรรู้เท่าทันสื่อ สถานการณ์รู้เท่าทันสื่อ หากมีความรู้เท่าทันสื่อ ความคิด ความรู้สึก ทัศนคติ หรือความเข้าใจโลกในด้านต่าง ๆ ของเราก็จะมีสติ พิจารณารอบคอบมากขึ้นนั่นเอง

    บรรณานุกรม: ประเวศ วะสี และคนอื่น. (ม.ป.ป.). รู้ทันสื่อ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ออฟเซ็ทพลัส.

    แหล่งที่มา: แผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเด็กและเยาวชน (สสย.)

    ชื่อหนังสือ: เศรษฐกิจพอเพียงและประชาสังคม แนวทางพลิกฟื้นเศรษฐกิจสังคม

    สาระสังเขป: หนังสือเล่มนี้รวบรวมความรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียงและประชาสังคม ความเข้มแข็งของเศรษฐกิจพื้นฐานทางรอดของสังคมไทย เศรษฐกิจแห่งการพึ่งตนเอง ความเข้มแข็งจากฐานล่าง ทำให้7,000 ตำบล หายจน องค์กรชุมชน ทางรอดของรัฐบาลและสังคมไทย องค์กรชุมชนกับกระบวนการเรียนรู้ของประชาชนหัวใจของการพัฒนา

    บรรณานุกรม: ประเวศ วะสี. (2542). เศรษฐกิจพอเพียงและประชาสังคม แนวทางพลิกฟื้นเศรษฐกิจสังคม. กรุงเทพฯ : หมอชาวบ้าน.

    แหล่งที่มา: ศ.นพ.ประเวศ วะสี

    ชื่อเรื่อง : สารสนเทศและการสื่อสารสังคมดิจิทัล

    สาระสังเขป:    วิเคราะห์ข้อมูล ข่าวสาร และความรู้ในบริบทการพัฒนาชีวิตและประกอบการชุมชน เทคโนโลยีสารสนเทศ สังคมดิจิทัล ที่มีผลกระทบต่อชีวิตและสังคม การสื่อสารเพื่อสร้างเครือข่าย การสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งจริยธรรมในการสื่อสาร โดยฝึกใช้สารสนเทศในสังคมดิจิทัล     

    ชื่อเรื่อง : พระราชอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

    สาระสังเขป:    หนังสือเล่มนี้รวบรวมความรู้เกี่ยวกับพระราชอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร คอมพิวเตอร์ งานพัฒนาบุคลากร การพัฒนาฝนหลวง ทฤษฎีใหม่ว่าด้วยเรื่องการบริหารจัดการที่ดินและแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร กังหันน้ำชัยพัฒนา มูลนิธิราชประชาสมาสัย มูลนิธิราชประชานุเคราะห์

    บรรณานุกรม:   สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ. (2538). พระราชอัจฉริยภาพของ     พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง.   

    ชื่อเรื่อง :สื่อความรู้ เทคโนโลยีพร้อมใช้ เพื่อเกษตรและชุมชน

    สาระสังเขป:    “สื่อความรู้ เทคโนโลีพร้อมใช้ เพื่อเกษตรและชุมชน” รวบรวมสื่อความรู้เทคโนโลยีด้านการเกษตรที่ สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) ได้ถ่ายทอดแก่เกษตรกรและชุมชน ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีด้านพันธุ์พืชและการผลิต เทคโนโลยีสารชีวภัณฑ์ เทคโนโลยีด้านสัตว์ เทคโนโลยีการจัดการดิน เทคโนโลยีการแปรรูปผลผลิต ทางการเกษตร และเทคโนโลยีด้านอุปกรณ์ เครื่องจักร ซึ่งจัดทำในรูปแบบสื่อสิ่งพิมพ์ บทความ วิดีโอ และรายการสัมภาษณ์ เพื่อการเข้าถึงง่ายและปรับประยุกต์ใช้ในการทำเกษตรได้จริง นำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรและสร้างความเข้มแข็งให้กับภาคการเกษตรของประเทศ

    บรรณานุกรม:    สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร. (2562). สื่อความรู้ เทคโนโลยีพร้อมใช้ เพื่อเกษตรและชุมชน. ปทุมธานี : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ.  

    ชื่อเรื่อง : วิทย์พลิกชีวิต เติมด้วยใจ ความรู้ เทคโนโลยี

    สาระสังเขป:    หนังสือวิทย์พลิกชีวิต เติมด้วยใจ ความรู้ เทคโนโลยี นำเสนอเรื่องราวของเกษตรกร กลุ่มเกษตรกรที่เปิดรับความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม จากสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตร (AGRITEC) และนำมาใช้ในงานเกษตร และเพราะการทำเกษตรไม่มีสูตรสำเร็จพวกเราจึงเรียนรู้ ทดลอง และปรับประยุกต์ความรู้ที่ได้รับให้เหมาะกับวิถีการทำเกษตรของตนโดยไม่ทิ้ง ความใส่ใจ ที่มีอยู่ในตัวตนคนทำเกษตร ซึ่งผลตอบแทนที่มากกว่ารายได้ คือ ความสุขที่พวกเขาได้รับ

    บรรณานุกรม:    สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (2562). วิทย์พลิกชีวิต เติมด้วยใจ ความรู้ เทคโนโลยี. ปทุมธานี : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ.    

    ชื่อเรื่อง :   แนวทางส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสนับสนุนการจัดการความรู้ กรณีศึกษาคณะวิทยาการจัดการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยนครพนม

    สาระสังเขป:    งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทสนับสนุนการจัดการความรู้ ศึกษาความต้องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสนับสนุนการจัดการความรู้ และศึกษาแนวทางส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสนับสนุนการจัดการความรู้
    บรรณานุกรม:    เดชา วงศ์ปัสสะ และคณะ. (2559). แนวทางส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสนับสนุนการจัดการความรู้       กรณีศึกษาคณะวิทยาการจัดการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยนครพนม. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 6(2), 105-113.    

    ชื่อเรื่อง :   การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรจดหมายเหตุ

    สาระสังเขป:    รวบรวมความรู้เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรจดหมายเหตุ การทำงานที่ผ่านมาและปัจจุบัน ประเภทเอกสารจดหมายเหตุ คำถามชวนคิด ประเด็นชวนคุย สื่อดิจิทัลกับคลังเอกสารดิจิทัล ฯลฯ

    บรรณานุกรม:    บุญเลิศ อรุณพิบูลย์. (ม.ป.ป.). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรจดหมายเหตุ.      (ม.ป.ท.: ม.ป.พ.).    

    ชื่อเรื่อง :เหมืองความคิด

    สาระสังเขป:    หนังสือเล่มนี้เป็นการรวบรวมผลงานของผู้เขียน ถ่ายทอดมุมมองความคิดด้านการบริหารจัดการ การตลาด การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ และภาพสะท้องที่ตนเองมีต่อประกฎการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมโลกมากกว่าเป็นการเขียนในเชิงวิชาการที่มุ่งเน้นแนวคิดทฤษฎีที่อาจจับต้องนำไปใช้ประโยชน์ได้ไม่มากนัก
    บรรณานุกรม:    บดินทร์ รัศมีเทศ. (2555). เหมืองความคิด. (ม.ป.ท.) : แสงดาว.    

     

    ชื่อเรื่อง :    เอกสารประกอบการสอนวิชารากฐานจิตวิทยาทางเทคโนโลยีการศึกษา


    สาระสังเขป:     เอกสารประกอบการสอนฉบับนี้รวบรวมความรู้เกี่ยวกับหลักการ แนวคิดและทฤษฎีทางด้านจิตวิทยาการศึกษา ที่นำมาใช้เป็นรากฐานทางการศึกษาและพัฒนาการด้านเทคโนโลยีการศึกษา ที่เน้นเกี่ยวกับพัฒนาการของการเรียนรู้ แรงจูงใจ บุคลิกภาพ ความแตกต่างของบุคคล การประยุกต์หลักการในการออกแบบการเรียนการสอน และการออกแบบสื่อ การจัดการและประเมินผลด้านเทคโนโลยีการศึกษา

    บรรณานุกรม:     สัญชัย พัฒนสิทธิ์. (2548). เอกสารประกอบการสอนวิชารากฐานจิตวิทยาทางเทคโนโลยีการศึกษา. 

    ชื่อเรื่อง :   เอกสารประกอบการสอนวิชารากฐานจิตวิทยาทางเทคโนโลยีการศึกษา

    สาระสังเขป:     เอกสารประกอบการสอนฉบับนี้รวบรวมความรู้เกี่ยวกับหลักการ แนวคิดและทฤษฎีทางด้านจิตวิทยาการศึกษา ที่นำมาใช้เป็นรากฐานทางการศึกษาและพัฒนาการด้านเทคโนโลยีการศึกษา ที่เน้นเกี่ยวกับพัฒนาการของการเรียนรู้ แรงจูงใจ บุคลิกภาพ ความแตกต่างของบุคคล การประยุกต์หลักการในการออกแบบการเรียนการสอน และการออกแบบสื่อ การจัดการและประเมินผลด้านเทคโนโลยีการศึกษา

    บรรณานุกรม:     สัญชัย พัฒนสิทธิ์. (2548). เอกสารประกอบการสอนวิชารากฐานจิตวิทยาทางเทคโนโลยีการศึกษา.  

    ชื่อเรื่อง :การศึกษาแนวทางการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการลดการใช้กระดาษในองค์กรธุรกิจกรณีศึกษา บริษัท ที.เอ็น.กรุ๊ป จำกัด

    สาระสังเขป:    งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเพื่อหาแนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับงานสาธารณสุขในประเทศไทย เป็นการทบทวนและศึกษาแนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศด้านสาธารณสุขในต่างประเทศเพื่อเปรียบเทียบกับการพัฒนาในประเทศไทย และเสนอกรณีตัวอย่างการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศด้านสาธารณสุขที่สำคัญในประเทศไทย

    บรรณานุกรม:    กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์. (2541). รายงานการศึกษาเรื่อง แนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับงานสาธารณสุขในประเทศไทย. นนทบุรี : สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.    

    ชื่อเรื่อง :เทคโนโลยีสารสนเทศกับการศึกษาและวิจัย

    สาระสังเขป:    บทความนี้รวบรวมความรู้การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในสถาบันการศึกษา ด้านการเรียนการสอนวิชาคอมพิวเตอร์พื้นฐาน ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการเรียนการสอน คอมพิวเตอร์สำหรับการใช้งานในห้องสมุด หรือที่เรียนว่าห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ งานสื่อสารเชื่อมโยงข้อมูลภายในหน่วยงาน เทคโนโลยีสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ ระบบสำนักงานอัตโนมัติ

    บรรณานุกรม:    ชุติระ ระบอบ. (2541). เทคโนโลยีสารสนเทศกับการศึกษาและวิจัย. วารสารสุทธิปริทัศน์, 12(36), 43-55.    

     

    ชื่อเรื่อง :       แนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับงานสาธารณสุขในประเทศไทย

    สาระสังเขป:     บทความเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ระบบความคิดพื้นฐานของการให้ความหมายต่อพื้นที่ชุมชนสามาแพร่งที่มีความแตกต่างกันระหว่างสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ในฐานเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินและอาคาร และผู้เช่า ท้ายบทความนำเสนอ “แพร่งโมเดล”
    บรรณานุกรม:    พรรณลดา โพธิ์ทองแสงอรุณ. (2557). สามแพร่งกับการฟื้นฟูชุมชน : ปฏิบัติการทางวาทกรรมเพื่อการอยู่ ร่วมกันผ่านทุนทางวัฒนธรรม. วารสารภาษาและวัฒนธรรม, 33(2), 21-44   คลิกอ่าน

    ชื่อเรื่อง :      วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร

    สาระสังเขป:    วารสารฉบับนี้มีบทความที่หลากหลายและน่าสนใจ ครอบคลุมเนื้อหาทั้งด้านนิเทศศาสตร์และสื่อสารมวลชน และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่นำเสนอแนวคิดจากการวิเคราะห์สังเคราะห์ เช่น แนวทางสู่การเป็นมหาวิทยาลัยอัจฉริยะด้วยเทคโนโลยี NFC การพัฒนาระบบงานอัจฉริยะ นอกจากนี้ยังมีองค์ความรู้ด้านนิเทศศาสตร์การใช้ภาษาที่น่าสนใจ รวมไปถึงเนื้อด้านการโฆษณาและประชาสัมพันธ์

    บรรณานุกรม:      ฉันทนา ปาปัดถา (บรรณาธิการ). (2560, กรกฎาคม-ธันวาคม). วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน  มทร.พระนคร. 2(2).   

    ชื่อหนังสือ:       กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

    สาระสังเขป:     หนังสือเล่มนี้ได้รวบรวมความรู้เกี่ยวกับ กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.๒๕๖๒ หมวด ๑ คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หมวด ๒ การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ส่วนที่ ๑ บททั่วไป ส่วนที่ ๒ การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล ส่วนที่ ๓ การใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล หมวด ๓ สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล หมวด ๔ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หมวด ๕ การร้องเรียน หมวด ๖ ความรับผิดทางแพ่ง หมวด ๗ บทกำหนดโทษ ส่วนที่ ๑ โทษอาญา ส่วนที่ ๒ โทษทางปกครอง และบทเฉพาะกาล เพื่อประโยชน์ในการศึกษา อ้างอิง และการปฏิบัติงานของหน่วยงานหรือบุคลากรที่เกี่ยวข้อง

    บรรณานุกรม:     สำนักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล           กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2562). กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล. กรุงเทพฯ : สุนทรฟิล์ม.