Mon. Dec 9th, 2024

    E-book วิชา ชุมชนอภิวัตน์

    รหัสวิชา GE634106

    ทรัพยากรประกอบการเรียนรู้ 3/2563

    งานห้องสมุด สำนักหอสมุดและสารสนเทศ สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน

    สาระสังเขป: หนังสือเล่มนี้รวบรวมความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้งภาค 1 และภาค 2 ว่าด้วยเรื่องทางตันของการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน เมื่อโลกมีการพัฒนา จะพัฒนาอย่างไร จึงกลายเป็นการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน จะทำอย่างไร ในเมื่อสิ่งที่พาตัวมาเจอปัญหาก็คือสิ่งที่พาตัวมาสู่ความเจริญ การพัฒนาที่ยั่งยืนของโลกมากกับการพัฒนาความสุขที่ยั่งยืนของคน

    บรรณานุกรม: สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2538). การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development). (ม.ป.ท.: ม.ป.พ.).

    สาระสังเขป: หนังสือเล่มนี้รวบรวมความรู้เกี่ยวกับเบื้องหลังและปัญหาของท้องถิ่นนิยม วิพากษ์โลกาภิวัตน์นิยมจากจุดยืนของท้องถิ่นนิยม “ท้องถิ่นนิยม” ในทฤษีสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาสายสกุลทันสมัยนิยม ฯลฯ

    บรรณานุกรม: : พัฒนา กิติอาษา. (2546). ท้องถิ่นนิยม. กรุงเทพฯ : โอเอส พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

    สาระสังเขป: หนังสือเล่มนี้รวบรวมความรู้เกี่ยวกับการเสริมสร้างความเข้มแข็ง เอาชนะยาเสพติดด้วยการจัดการชุมชนตามปณิธานกองทุนแม่ของแผ่นดิน การเรียนรู้บูรณาการชีวิตกับชุมชน การพัฒนาท้องถิ่นแบบบูรณาการ และการสร้างเครือข่าย ด้วยกระบวนการปรับกระบวนทัศน์ การจัดระเบียบชีวิต และการสร้างระบบเศรษฐกิจพึ่งตนเอง โดยมีเป้าหมายให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืนเป็นสำคัญ

    บรรณานุกรม: ศุภกร คุรุการเกษตร (เรียบเรียง). (2556). ภูมิคุ้มกันชีวิต ภูมิคุ้มกันชุมชน แนวคิด แนวปฏิบัติในการขับเคลื่อนชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืน ภายใต้ “กองงทุนแม่ของแผ่นดิน”. กรุงเทพฯ : เจริญวิทย์การพิมพ์.

    สาระสังเขป: หนังสือเล่มนี้รวบรวมความรู้เกี่ยวกับยุทธศาสตร์ชาติฉบับประชาชน ที่มีเป้าหมายคือ ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข เศรษฐกิจพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สังคมเป็นธรรม ฐานทรัพยากรธรรมชาติยั่งยืน

    บรรณานุกรม: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (ม.ป.ป.). ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ.2561-2580) ฉบับ ประชาชน. (ม.ป.ท.: ม.ป.พ.).

    สาระสังเขป: แผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับนี้ จัดทำขึ้นโดยน้อมนำหลัก “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” มาเป็นปรัชญานำทางในการพัฒนาประเทศต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙-๑๑ เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและช่วยให้สังคมไทยยืนหยัดได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน เพื่อกำกับทิศทางและเกิดประสิทธิภาพสู่การพัฒนาเพื่อประโยชน์สุขที่ยั่งยืนของสังคมไทย

    บรรณานุกรม: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (ม.ป.ป.). แผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ.๒๕๖๐-๒๕๖๔. (ม.ป.ท.: ม.ป.พ.

    สาระสังเขป: คู่มือเล่มนี้รวบรวมความรู้เกี่ยวกับหลักการเบื้องต้นในการศึกษาชุมชน การลงภาคสนาม และการวิเคราะห์

    บรรณานุกรม: ประดิษฐ์ ลีลานิมิต. (2557). ก่อเกิด คู่มือศึกษาชุมชนสำหรับเยาวชน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : วนิดาการพิมพ์.

    สาระสังเขป: คู่มือเล่มนี้รวบรวมความรู้เกี่ยวกับแนวทางการสำรวจและเก็บรวบรวมข้อมูลในชุมชนอย่างเป็นระบบ โดยเน้นความเชื่อมโยงขององค์ประกอบหลัก คือ คน ธรรมชาติ และวัฒนธรรมความเชื่อ

    บรรณานุกรม: อลงกต ศรีวิจิตรกมล (บรรณาธิการ). (2557). คู่มือการเรียนรู้สำรวจชุมชน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : กลุ่มสิ่งแวดล้อมศึกษา กระทรวงทรัพยากรฯ.

    สาระสังเขป: หนังสือเล่มนี้รวบรวมความรู้เกี่ยวกับเครือข่ายชุมชนไร้พรมแดนในยุคโลกาภิวัตน์ของชุมชนศีรษะอโศก ชุมชนเข้มแข็งกับชมรมเรารักแม่น้ำท่าจีน ความเข้มแข็.ของชุมชนบ้านเปร็ดใน และบทสังเคราะห์การจัดการความรู้ของชุมชน

    บรรณานุกรม: สุทธิธรรม เลขวิวัฒน์. (2549). เครือข่ายชุมชนพอเพียง. กรุงเทพฯ : สถาบันวิถีทรรศน์.

    สาระสังเขป: เอกสารชุดนี้รวบรวมความรู้เกี่ยวกับชุมชนอภิวัตน์ คุณค่าประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมชุมชน ใช้สำหรับบรรยายในรายวิชาชุมชนอภิวัตน์ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ศุภการ สิริไพศาล

    บรรณานุกรม: ศุภการ สิริไพศาล. (2564). ชุมชนอภิวัตน์ คุณค่าประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมชุมชน. สมุทรสงคราม : สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน.

    สาระสังเขป: หนังสือเล่มนี้รวบรวมความรู้เกี่ยวกับผลงาน 11 บทความว่าด้วยแนวคิดและทฤษฎีทางมานุษยวิทยากับการศึกษาด้านประวัติศาสตร์ จากมุมมองและความคิดของนักมานุษยวิทยาคนสำคัญของไทย

    บรรณานุกรม: สุเทพ สุนทรเภสัช. (2548). มานุษยวิทยากับประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ : เมืองโบราณ.

    สาระสังเขป: รายงานวิจัยฉบับนี้รวบรวมความรู้เกี่ยวกับการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นไทย การประเมินสถานภาพ แนวคิดและวิธีการของประวัติศาสตร์ท้องถิ่น

    บรรณานุกรม: ยงยุทธ ชูแว่น. (2549). การศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นไทย. คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

    สาระสังเขป: เอกสารนี้รวบรวมความรู้เกี่ยวกับแนวความคิดเบื้องต้นสำหรับเป็นแนวทางให้แก่นักเรียนประวัติศาสตร์และผู้สนใจทั่วไป อันจะนำไปสู่การแลกเปลี่ยนเพื่อแสวงหาแนวทางการศึกษาที่ชัดเจนขึ้นในอนาคต

    บรรณานุกรม: ยงยุทธ ชูแว่น. (2545). ความนำ แนวคิดและวิธีการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)

    สาระสังเขป: หนังสือเล่มนี้รวบรวมความรู้เกี่ยวกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก เกษตรอินทรีย์ที่แหลงโหนด ข้าวอินทรีย์ดินภูเขาไฟ บนวิถีธรรมชาติและภูมิปัญญาท้องถิ่น ฯลฯ

    บรรณานุกรม: สุวัฒน์ คงแป้น และคนอื่น (เรียบเรียง). (ม.ป.ป.). เรื่องเล่าจากพื้นที่สร้างเศรษฐกิจชุมชนฐานรากเปลี่ยนเศรษฐกิจไทย. กรุงเทพฯ : สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน).

    สาระสังเขป: คู่มือเล่มนี้รวบรวมความรู้เกี่ยวกับแนวคิดในการวางรากฐานความเข้าใจชุมชนและเครื่องมือศึกษาชุมชน 7 ชิ้น คือ แผนที่เดินดิน ผังเครือญาติ โครงสร้างองค์กรชุมชน ระบบสุขภาพชุมชน ปฏิทินชุมชน ประวัติศาสตร์ชุมชน และประวัติชีวิตบุคคล

    บรรณานุกรม:

    สาระสังเขป: หนังสือเล่มนี้รวบรวมความรู้เกี่ยวกับวิถีไท วิถีทางสู่ชุมชนพึ่งตนเองอยู่ ที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อม ธุรกิจชุมชน ดิน น้ำ ป่า องค์กรการเงินและสวัสดิการชุมชนเข้มแข็ง และศิลปวัฒนธรรม

    บรรณานุกรม: สุวัฒน์ คงแป้น (บรรณาธิการ). (2545). วิถีไท วิถีทางสู่ชุมชนพึ่งตนเอง. กรุงเทพฯ : รวมทรรศน์.