Wed. Sep 27th, 2023

แผนการศึกษา ประจำภาคเรียนที่ 2/2564

รุ่น 2/2563

สาขาวิชาการพัฒนาชีวิตและประกอบการชุมชน

วิชา ภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับการประกอบการชุมชน รหัสวิชา CE634205

ขอขอบคุณแหล่งที่มาของสารสนเทศ

สาระสังเขป: นิตยสารเล่มนี้รวบรวมความรู้เกี่ยวกับการเติมโตของเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน การเพิ่มผลิตภาพของแรงงานและผู้ประกอบการในชุมชน การใช้ทรัพยากร ภูมิปัญญาและทุนทางวัฒนธรรมของชุมชนให้เกิดประโยชน์สูงสุด ฯลฯ

บรรณานุกรม: สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้(องค์การมหาชน). (2564). พัฒนาความรู้และความคิดสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: สำนักงาน.


สาระสังเขป: งานวิจัยเล่มนี้รวบรวมความรู้บริบทการดำเนินงานของวิสาหกิจขนาดย่อมและแนวทางการยกระดับภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยนวัตกรรมผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มมูลค่าวิสาหกิจขนาดย่อม

บรรณานุกรม: บุญฑวรรณ วิงวอน, อัจฉราภรณ์ วรรณมะกอก และอัจฉรา เมฆสุวรรณ. (2557).แนวทางการยกระดับภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยนวัตกรรมผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มมูลค่ากิจการวิสาหกิจขนาดย่อม อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย, 9(1), 102-119.

สาระสังเขป: งานวิจัยนี้รวบรวมความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิสาหกิจชุมชนแนวคิดและมาตรการการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิสาหกิจชุมชน

บรรณานุกรม: วุฒิสารตันไชย และคนอื่น. (2558). การศึกษาวิจัยการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิสาหกิจชุมชน. เอกสารประกอบการสัมมนาการเมืองการปกครองไทย 2558 พลเมืองและชุมชน พลังเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตยไทย. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า.

สาระสังเขป: งานวิจัยนี้รวบรวมความรู้เกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฎีของปราชญ์ชาวบ้านและภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมถึงรูปแบบการจัดตั้งการบริหารจัดการ และความสำเร็จของวิสาหกิจชุมชน

บรรณานุกรม: จักรพงษ์ นวลชื่น. (2561). แนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนให้ยั่งยืนด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น ศึกษากรณี วิสาหกิจชุมชนในจังหวัดนครพนม และจังหวัดสกลนคร.หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 60 วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.


สาระสังเขป: งานวิจัยนี้รวบรวมความรู้แนวทางการประยุกต์ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในผลิตภัณฑ์มะพร้าวตามแนวเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของวิสาหกิจชุมชนจังหวัดสมุทรสงคราม

บรรณานุกรม: พรรณ์ธิดา เหล่าพวงศักดิ์. (2563). การประยุกต์ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในผลิตภัณฑ์มะพร้าว ตามแนวเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของวิสาหกิจชุมชนจังหวัด. วารสารเศรษฐศาสตร์และกลยุทธ์การจัดการ,7(1), 95-108.


สาระสังเขป: ดุษฎีนิพนธ์เล่มนี้รวบรวมความรู้เกี่ยวกับรูปแบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านหัตถกรรมเครื่องจักสารกรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชน จังหวัดนครราชสีมา

บรรณานุกรม: กนกพร ฉิมพลี. (2555).รูปแบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านหัตถกรรมเครื่องจักสาน: กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชน จังหวัดนครราชสีมา. หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาพัฒนาสังคมและการจัดการสิ่งแวดล้อม คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.


สาระสังเขป: เอกสารเล่มนี้รวบรวมข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรมและหัตถกรรม การแพทย์ไทย ศิลปกรรม ปรัชญา ศาสนา ประเพณี และโภชนาการ

บรรณานุกรม: องค์การบริหารส่วนตำบลแจ้ห่ม.(ม.ป.ป.). ข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นท้องถิ่นและปราชญ์ชาวบ้าน. ลำปาง: องค์การบริหารส่วนตำบลแจ้ห่ม.


สาระสังเขป: งานวิจัยนี้รวบรวมความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดทำไม้กวดดอกหญ้าชุมชนตำบลกาหลง อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาสการต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการส่งเสริมอาชีพในชุมชน

บรรณานุกรม: บาลกิสอาแด และคนอื่น. (ม.ป.ป.). การต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการส่งเสริมอาชีพในขุมชน: ศึกษากรณีการรวมกลุ่มทำไม้กวาดดอกหญ้าชุมชนตำบลกาหลงอำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส. หลักสูตรรัฐศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยรามคำแหง.


สาระสังเขป: งานวิจัยนี้รวบรวมความรู้การใช้แนวคิดภูมิปัญญาท้องถิ่นกับแนวคิดการออกแบบแฟชั่นเพื่อพัฒนาอาชีพและผลิตภัณฑ์ชุมชนอำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร เพื่อส่งเสริมแนวคิดภูมิปัญญาและการถ่ายทอดความรู้

บรรณานุกรม: จรัสพิมพ์วังเย็น และคนอื่น. (2556). การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากผ้าขาวม้าโดยใช้แนวคิดภูมิปัญญาท้องถิ่นกับแนวคิดการออกแบบแฟชั่นเพื่อพัฒนาอาชีพและผลิตภัณฑ์ชุมชนอำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร. คณะอุตสาหกรรมสิ่งทอและออกแบบแฟชั่นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

สาระสังเขป: MAGAZINE เล่มนี้รวบรวมความรู้เศรษฐกิจติดดิน เหนียวห่อกล้วยยายศรีการผสมผสานภูมิปัญญาท้องถิ่นกับเทคโนโลยีภายใต้ภูมิทัศน์ใหม่ในยุคโควิด-19 ฯลฯ

บรรณานุกรม: ธนาคารแห่งประเทศไทย.(2564). เหนียวห่อกล้วยยายศรี. BOT พระสยาม MAGAZINE, 44(1). 38-41.


สาระสังเขป : เอกสารประกอบการสอนนี้รวมรวมความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เป็นแนวคิดและแนวทางสำคัญในการพัฒนาชุมชน และเป็นพื้นฐานในการดำเนินงานด้านการพัฒนาประเทศในทุกด้าน

บรรณานุกรม : จำนงค์ แรกพินิจ. (2563). ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาชุมชน. สมุทรสงคราม : คณะศิลปศาสตร์ สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน.

สาระสังเขป:

เอกสารประกอบการสอนนี้รวมรวมความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาไทย ความเป็นมา ความสำคัญ ความหมาย ลักษณะ ขอบข่าย ลักษณะของความสัมพันธ์ และแนวทางการดำเนินงานของภูมิปัญญาไทย

บรรณานุกรม : สามารถ จันทร์สูรย์. (2554). องค์ความรู้ภูมิปัญญาไทย. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : เจริญวิทย์การพิมพ์.

สาระสังเขป : หนังสือเล่มนี้รวบรวมความรู้เกี่ยวกับความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณค่าของภูมิปัญญาที่เอื้อประโยชน์ต่อการวางแผนพัฒนาท้องถิ่น ประเทศอย่างยั่งยืนและมั่นคง

บรรณานุกรม : กลุ่มงานภูมิปัญญาท้องถิ่น. (ม.ป.ป.). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น. กลุ่มงานภูมิปัญญาท้องถิ่น สำนักพัฒนาเกษตรกร กรมส่งเสริมการเกษตร.

แหล่งที่มา : กลุ่มงานภูมิปัญญาท้องถิ่น สำนักพัฒนาเกษตรกร กรมส่งเสริมการเกษตร

สาระสังเขป : หนังสือเล่มนี้รวบรวมความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาท้องถิ่นไทย ทุนภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทย การยกระดับภูมิปัญญาไทยสู่การพัฒนาท้องถิ่นเชิงสร้างสรรค์ กรณีศึกษาการยกระดับภูมิปัญญาไทยเพื่อส่งเสริมการพัฒนาท้องถิ่นเชิงสร้างสรรค์

บรรณานุกรม : เทิดชาย ช่วยบำรุง. (2554). ภูมิปัญญาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นเชิงสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า.

แหล่งที่มา: สถาบันพระปกเกล้า

สาระสังเขป : หนังสือเล่มนี้รวบรวมความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาท้องถิ่นไทย ทุนภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทย การยกระดับภูมิปัญญาไทยสู่การพัฒนาท้องถิ่นเชิงสร้างสรรค์ กรณีศึกษาการยกระดับภูมิปัญญาไทยเพื่อส่งเสริมการพัฒนาท้องถิ่นเชิงสร้างสรรค์

บรรณานุกรม : บรรณานุกรม: กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. (2559). วัฒนธรรม วิถีชีวิตและภูมิปัญญา. กรุงเทพฯ : กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม.

แหล่งที่มา: กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม.

สาระสังเขป : หนังสือเล่มนี้รวบรวมความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการส่งเสริมการเกษตร สารัตถะเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น ประเภทและคุณลักษณะของภูมิปัญญาท้องถิ่น การสร้างคุณค่าเพิ่มให้กับภูมิปัญญาท้องถิ่น ปัจฉิมบทเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น

บรรณานุกรม : พัฒนา สุขประเสริฐ. (2558). ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการส่งเสริมการเกษตร. ภาควิชาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน.

แหล่งที่มา : ภาควิชาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน.

สาระสังเขป : หนังสือเล่มนี้รวบรวมความรู้เกี่ยวกับองค์ความรู้และนวัตกรรมด้านเกษตรอินทรีย์ ปี พ.ศ.2552-2553 โดยแบ่งตามกลุ่มต่าง ๆ อาทิเช่น ข้าว ผักและผลไม้ ปศุสัตว์และประมง แปรรูป ปัจจัยการผลิต ฯลฯ

บรรณานุกรม : สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ. (2553). องค์ความรู้และนวัตกรรมด้านเกษตรอินทรีย์ ปี พ.ศ.2552-2553. กรุงเทพฯ : สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ

แหล่งที่มา : สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

สาระสังเขป : ยุทธศาสตร์ชาติฉบับประชาชนรวบรวมความรู้เกี่ยวกับยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติมโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ

บรรณานุกรม : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (ม.ป.ป.). ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561-2580) ฉบับประชาชน. (ม.ป.ท.: ม.ป.พ.)

สาระสังเขป : แผนพัฒนาฯ ฉบับนี้จัดทำขึ้นช่วงเวลาการปฏิรูปประเทศท่ามกลางโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและเชื่อมโยงกันใกล้ชิดกันมากขึ้น โดยน้อมนำหลัก “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” มาเป็นปรัชญานำทางพัฒนาประเทศต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙-๑๑ เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและช่วยให้สังคมไทยสามารถยืนหยัดอยู่ได้อย่างมั่นคง มีการบริหารจัดการความเสี่ยง ส่งผลให้พัฒนาประเทศสู่ความสมดุลและยั่งยืน

บรรณานุกรม : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (ม.ป.ป.). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๔. (ม.ป.ท.: ม.ป.พ.)

แหล่งที่มา : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

สาระสังเขป : หนังสือเล่มนี้รวบรวมความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมภูมิปัญญาเศรษฐกิจพอเพียง องค์ความรู้ของเกษตรกรและชุมชน ที่ผ่านการกลั่นกรองสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับภูมิสังคมของเกษตรกรและผู้สนใจทั่วไป

บรรณานุกรม : ธุวนันท์ พานิชโยทัย และคนอื่น. (2552). นวัตกรรมภูมิปัญญาเศรษฐกิจพอเพียง องค์ความรู้ของเกษตรกรและชุมชน. สถาบันสร้างเสริมนวัตกรรมภูมิปัญญาเศรษฐกิจพอเพียง กรมส่งเสริมการเกษตร

แหล่งที่มา : สถาบันสร้างเสริมนวัตกรรมภูมิปัญญาเศรษฐกิจพอเพียง กรมส่งเสริมการเกษตร

สาระสังเขป : หนังสือเล่มนี้รวบรวมความรู้เกี่ยวกับความเป็นมาของชนชาติพันธุ์ในประเทศไทยและสภาพทั่วไป ภูมิปัญญาในการรักษาพันธุ์พืชอาหารของชนชาติพันธุ์ พืชพื้นบ้านที่ชนชาติพันธุ์ใช้ในการประกอบอาหารและเชื่อว่าบำรุงร่างกาย จิตใจ จิตวิญญาณ การดูแลสุขภาพของชนชาติพันธื ในกรณ๊ที่เจ็บป่วยจากอาการต่าง ๆ และความเชื่อพิธีกรรมที่เชื่อมโยงทางจิตวิญญาณ

บรรณานุกรม: สุพจน์ หลี่จา (บรรณาธิการ). (ม.ป.ป.). ภูมิปัญญาชาติพันธุ์ ในการรักษาพืชอาหาร และการดูแลสุขภาพ ๖ ชาติพันธุ์. เชียงใหม่ : วนิดาการพิมพ์.

แหล่งที่มา: มูลนิธิพัฒนาชุมชนและเขตภูเขา (พชภ.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)