Sat. Jul 27th, 2024

    ดร.สามารถ จันทร์สูรย์ คณบดีคณะศิลปศาสตร์

    ชื่อหนังสือ: องค์ความรู้ภูมิปัญญาไทย

    สาระสังเขป: หนังสือเล่มนี้รวบรวมความรู้เกี่ยวกับความเป็นมา ความสำคัญของภูมิปัญญา ความหมายของภูมิปัญญา ลักษณะของภูมิปัญญา ขอบข่ายหรือสาขาของภูมิปัญญาไทย ลักษณะความสัมพันธ์ของภูมิปัญญาไทย และแนวทางการดำเนินงานด้านภูมิปัญญาไทย

    บรรณานุกรม: สามารถ จันทร์สูรย์. (2554). องค์ความรู้ภูมิปัญญาไทย. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : เจริญวิทย์การพิมพ์.

    แหล่งที่มา: สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน

    ชื่อหนังสือ: ภูมิปัญญาท้องถิ่น

    สาระสังเขป: เอกสารฉบับนี้รวบรวมความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เป็นแนวคิดและแนวทางสำคัญในการพัฒนาชุมชน และเป็นพื้นฐานในการดำเนินงานด้านการพัฒนาประเทศในทุกด้าน มีการประยุกต์หรือปรับใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในรูปแบบที่หลากหลายเพื่อให้สอดคล้องกับพื้นฐานของแต่ละพื้นที่

    บรรณานุกรม: จำนงค์ แรกพินิจ. (2563). ภูมิปัญญาท้องถิ่น. สมุทรสงคราม : คณะศิลปศาสตร์ สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน

    แหล่งที่มา: สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน

    ชื่อหนังสือ: เศรษฐกิจพอเพียง

    สาระสังเขป: เอกสารฉบับนี้รวบรวมความรู้เกี่ยวกับความสำคัญของเศรษฐกิจพอเพียง ระบบการเงินชุมชนแบบพอเพียง กรณีศึกษากองทุนการเงินชุมชน วิเคราะห์ระบบการเงินชุมชนภายใต้บริบทของเศรษฐกิจพอเพียง การอุ้มชูตนเอง เป้าหมายของกองทุนการเงินชุมชน ชุมชนคือรากฐาน ฯลฯ

    บรรณานุกรม: จำนงค์ แรกพินิจ และคนอื่น. (2550). เศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ : เจริญวิทย์การพิมพ์.

    แหล่งที่มา: สถาบันส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน.

    ชื่อหนังสือ: คู่มือพัฒนาผู้ประกอบการชุมชน

    สาระสังเขป: คู่มือฉบับนี้ ได้จัดทำวัตถุประสงค์ กรอบแนวคิดและสาระสำคัญของการเรียนรู้ในแต่บทเรียน และสร้างตารางให้เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้โดยให้นักศึกษาทดลองวิเคราะห์และบันทึกผลการเรียนรู้ลงในคู่มือฉบับนี้

    บรรณานุกรม: จำนงค์ แรกพินิจ. (2563). คู่มือพัฒนาผู้ประกอบการชุมชน. สมุทรสงคราม : คณะศิลปศาสตร์ สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน

    แหล่งที่มา: สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน

    ชื่อหนังสือ: บทปริทัศน์หนังสือ “นายธนาคารเพื่อคนจน (VES UN MONDE SANS PAUVRETE)”

    สาระสังเขป: หนังสือธนาคารเพื่อคนจน(VERS UN MONDE SANS PAUVRETE) เล่มนี้ผู้เขียน ดร.มูฮัมหมัด ยูนุส มีความตั้งใจที่จะนาเสนอวิธีการแก้ปัญหาขจัดความจน ซึ่งเขียนเล่าจากประสบการณ์จริงที่ต้องการให้คนจนที่มีอยู่ทั่วทุกมุมโลกได้หลุดพ้นจากปลักความจนซึ่งเขาพิสูจน์แล้วว่าระบบของธนาคารกรามีนของเขาโดยวิธีการใช้สินเชื่อไมโครเครดิตนั้น สามารถใช้ได้จริง

    บรรณานุกรม: ศิริณา จิตต์จรัส และรณกรณ์ เอกฉันท์. (2551). บทปริทัศน์หนังสือ “นายธนาคารเพื่อคนจน (VES UN MONDE SANS PAUVRETE)”. สาขาการศึกษาตลอดชีวิตและการพัฒนามนุษย์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

    แหล่งที่มา: บทปริทัศน์หนังสือ