Sat. Jul 27th, 2024

    ชื่อหนังสือ  ระเบียบเศรษฐกิจระหว่างประเทศกับสงครามการค้า

    เนื้อหาโดยสังเขป     หนังสือเล่มนี้พูดถึงแม้ว่าเวลาจะล่วงเลยมากกว่าครึ่งศตวรรษ นับแต่ส่งครามโลกครั้งที่สองยุติลง แต่การจัดระเบียบเศรษฐกิจระหว่างประเทศหาได้ลงตัวไม่ บัดนี้โลกกำลังอยู่ในกระแสการเปลี่ยนแปลงระเบียบเศรษฐกิจระหว่างประเทศอย่างน้อย 3 กระแส อันได้แก่ กระแสพหุภาคีนิยม กระแสทวิภาคีนิยม และกระแสเอกภาคีนิยม          ผู้เขียนได้ข้อสรุปว่าจะไม่มีสงครามการค้าระหว่างประเทศสำหรับประเทศที่มีอำนาจต่อรองทางการเมืองระหว่างประเทศทัดเทียมกัน เมื่อเกิดความขัดแย้งในด้านผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ มักจะยันอีกฝ่ายหนึ่งจนติดกำแพง แต่แล้วก็ล่าถอยเพื่อให้มีช่องทางในการบรรลุข้อจกลงได้ เหตุการณ์ในลักษณะนั้จะเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า เพราะผู้นำประเทศมหาอำนาจต่างตระหนักดีว่าสงครามการค้าจะไม่เป็นประโยชน์แก่ทุกฝ่าย สถานการณ์จะแตกต่างกันออกไปหากความขัดแย้งนั้นเป็นปัญหาระหว่างประเทศมหาอำนาจกับโลกที่สาม ซึ่งบทความเหล่านี้จะยังเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นในสังคมเศรษฐกิจโลก

    บรรณานุกรม     รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์. (2540). ระเบียบเศรษฐกิจระหว่างประเทศกับสงครามการค้า. กรุงเทพฯ: คบไฟ.