ชื่อวิชา ภาษาและวัฒนธรรมการใช้ภาษา
(Language Usage Cultural and Language)
รหัสวิชา GE634101 หมวดวิชาศึกษาทั่วไป
สาขาวิชาการพัฒนาชีวิตและประกอบการชุมชน
*** ขอขอบคุณแหล่งที่มาของเอกสารอ่านประกอบในรูปแบบ E-book – PDF ***
ชื่อหนังสือ: คำศัพท์ไทย-อังกฤษ สำหรับติดต่อราชการและการประชุมระหว่างประเทศ
สาระสังเขป: หนังสือเล่มนี้รวบรวมความรู้เกี่ยวกับอาเซียนและคำศัพท์ภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษากลางในกลุ่มประเทศอาเซียนให้บุคลากรภาครัฐ เรียนรู้การใช้ตัวย่อที่ใช้กันในประชาคมอาเซียนและองค์การระหว่างประเทศ รวมถึงบทสนทนาที่ท่านสมารถนำไปใช้ได้ตั้งแต่การสนทนาทั่วไป การแนะนำตัวเอง การใช้ข้อมูลส่วนตัว การกล่างขอบคุณ ขอโทษ และกล่าวลา เพื่อเสริมทักษะความรู้ภาษาอังกฤษให้แก่บุคลากรภาครัฐทุกระดับ และผู้อ่าน
บรรณานุกรม: สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (ม.ป.ป.). คำศัพท์ไทย-อังกฤษ สำหรับติดต่อราชการและการประชุมระหว่างประเทศ. นนทบุรี : สำนักงาน ก.พ.
ชื่อหนังสือ: วิธีพัฒนาทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ
สาระสังเขป: บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอวีการพัฒนาทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพทั้งทักษะการพูด การฟัง การอ่าน และการเขียน โดยเก็บข้อมูลด้วยการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องแล้วสรุปเป็นวิธีการดังกล่าว
บรรณานุกรม: บัณฑิกา จารุมา และพะยอม ก้อนในเมือง. (2563). วิธีพัฒนาทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ. วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, 6(1), 409-423.
ชื่อหนังสือ: การเขียนเพื่อการสื่อสาร
สาระสังเขป: หนังสือเล่มนี้รวบรวมความรู้เรื่องการเขียนเพื่อการสื่อสาร ที่มีวัตถุประสงค์เอื้อประโยชน์ต่อผู้สนใจศึกษากระบวนการเขียนเพื่อการสื่อสารผ่านสื่อประเภทต่างๆ อาทิ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อวิทยุกระจายเสียง สื่อวิทยุโทรทัศน์ สื่อภาพยนตร์ และสื่อการแสดง
บรรณานุกรม: พรรณศักดิ์ สุขี และคนอื่นๆ. (2553). การเขียนเพื่อการสื่อสาร. พิมพ์ครั้งที่ 5. ปทุมธานี : มหาวิทยาลัย กรุงเทพ.
ชื่อหนังสือ: การเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์
สาระสังเขป: มีเนื้อหาความหมายของการประชาสัมพันธ์ กระบวนการประชาสัมพันธ์ ความสำคัญของการเขียน ลักษณะของสิ่งที่จะเป็นข่าว วัตถุประสงค์ของการเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์ ประเภทของข้อความในการเขียน ข้อควรระวังในการเขียนข่าว เป็นต้น
บรรณานุกรม: ฤทัยกัญญา ชูทอง. (ม.ป.ป.). การเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์. (ม.ป.ท. : ม.ป.พ.).
ชื่อหนังสือ: แง่งามของสื่อพื้นบาน คุณค่าที่ยังคมอยู่คู่สังคมภาคใต้
สาระสังเขป: โครงการศึกษาเรื่อง สถานภาพ บทบาท และศักยภาพของสื่อพื้นบ้านในฐานะสื่อทางเลือกเพื่อการพัฒนาสังคมภาคใต้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจสถานภาพ บทบาท และศักยภาพของสื่อพื้นบ้านในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ วิเคราะห์หน้าที่บทบาทหน้าที่และคุณค่าของสื่อพื้นบ้านในการสร้างประเด็นการสื่อสารเพื่อการพัฒนาสังคมภาคใต้
บรรณานุกรม: จารียา อรรถอนุชิต. (2554). แง่งามของสื่อพื้นบาน คุณค่าที่ยังคมอยู่คู่สังคมภาคใต้. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 6(2), 1-26.
ชื่อหนังสือ: แนะนำ Pinterest สื่อใหม่กับการเรียนการสอนยุคศตวรรษที่ 21
สาระสังเขป: เป็นการนำเสนอ Pinterest สื่อเครือข่ายสังคมออนไลน์ซึ่งนับเป็นสื่อใหม่ที่น่าสนใจ เพื่อปรับใช้ในระบบการเรียนการสอนในยุคสารสนเทศนี้ โดยเน้นให้ผู้เรียนมองเห็นความสำคัญในสิ่งที่เรียนรู้และสามารถเชื่อมโยงความรู้ระหว่างความรู้ใหม่กับความรู้เก่า จนเชื่อมโยงเข้ากับเป้าประสงค์ขององค์การได้
บรรณานุกรม: ภัทราวดี ธีเลอร์ และกรทักษ์ ธาดาธีรธรรม. (ม.ป.ป.). แนะนำ Pinterest สื่อใหม่กับการเรียนการสอนยุค ศตวรรษที่ 21. Executive Journal, 131-138.
ชื่อหนังสือ: ทำไมคนไทยจึงเรียนภาษาอังกฤษไม่ได้เรื่องสักที
สาระสังเขป: หนังสือเล่มนี้เขียนจากแรงบันดาลใจ ที่ต้องการเน้นว่า การเรียนภาษาอังกฤษเมื่อโตแล้วนั้นไม่มีทางที่จะพูดโดยให้มีสำเนียงเหมือนเจ้าของภาษาอย่างเด็ดขาด จึงไม่จำเป็นต้องกังวลในเรื่องดังกล่าว แต่จุดสำคัญของการเรียนภาษาคือการเอาภาษาไปใช้งานให้ได้
บรรณานุกรม: โกวิท วงศ์สุรวัฒน์. (2546). ทำไมคนไทยจึงเรียนภาษาอังกฤษไม่ได้เรื่องสักที. กรุงเทพฯ : มติชน.
ชื่อหนังสือ: ตำรา การแปลภาษาไทยเป็นภาษาจีน
สาระสังเขป: ตำรานี้มีเนื้อหาสาระครอบคลุมรายวิชาทั้งในภาคทฤษฎีและปฏิบัติ มีคำอธิบายการแปล เพื่อปูพื้นฐานไปสู่การศึกษาในระดับสูงต่อไป
บรรณานุกรม: กนกพร นุ่มทอง. (2554). ตำรา การแปลภาษาไทยเป็นภาษาจีน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สถาบันขงจื๊อ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ชื่อหนังสือ: ไทยศึกษา
สาระสังเขป: หนังสือเล่มนี้รวบรวมความรู้เกี่ยวกับวิวัฒนาการของประวัติศาสตร์ไทย ศาสนาในวัฒนธรรมไทย วิวัฒนากรของภาษาและวรรณคดีไทย วิวัฒนาการของภาษาและวรรณคดีไทย วิวัฒนาการของศิลปะไทย วัฒนธรรมพื้นบานและภูมิปัญญาท้องถิ่น วิถีชีวิตของคนไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต
บรรณานุกรม: ยุพร แสงทักษิณ, ประอรรัตน์ ตั้งกิตติภาภรณ์ (บรรณาธิการ). (2553). ไทยศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ชื่อหนังสือ: รายงานผลการสัมมนาเรื่อง “วัฒนธรรมทางภาษาของไทย”
สาระสังเขป: รายงานฉบับนี้รวบรวมความรู้เกี่ยวกับความหมายและขอบข่ายของภาษาไทย วัฒนธรรมทางภาษาในสังคมประชาธิปไตยของไทย สภาพของภาษาไทยในปัจจุบัน แนวทางอนุรักษ์และพัฒนาวัฒนธรรมทางภาษาของไทย ทรรศนะการใช้ภาษาไทยในปัจจุบัน เอกลักษณ์บางประการของภาษาไทย
บรรณานุกรม: คณะอนุกรรมกากรเผยแพร่เอกลักษณ์ของไทย ในคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ. (2526). รายงานผลการสัมมนาเรื่อง “วัฒนธรรมทางภาษาของไทย”. (ม.ป.ท. : ม.ป.พ.).