Skip to content
Sun. Dec 22nd, 2024
สำนักหอสมุดและสารสนเทศ
สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน
ห้องสมุดดิจิทัล
ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์
รวมข่าวและกิจกรรม
รวมหนังสือแนะนำ
คลินิก IT ม.ชีวิต
เกี่ยวกับเรา
ที่มาของห้องสมุด
สารสนเทศ
ระเบียบการใช้ห้องสมุด
แบบประเมินความพึงพอใจ
จำนวนผู้ชม
10
E-book วิชา การพัฒนาชุมชน 4
ทรัพยากรประกอบการเรียนรู้ 2/2562 กลุ่มวิชาการพัฒนาท้องถิ่น (สุโขทัย)
1. ชื่อหนังสือ: คู่คิด คู่มือ การมีส่วนร่วมของประชาชนสำหรับผู้บริหารท้องถิ่น
สาระสังเขป: หนังสือเล่มนี้เป็นการนำเสนอหลักการแนวคิดและแนวทางการจัดกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีความหมายในการบริหารงานชององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ฯลฯ
บรรณานุกรม: อรทัย ก๊กผล. (2552). คู่คิด คู่มือ การมีส่วนร่วมของประชาชนสำหรับผู้บริหารท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : จรัญสนิทวงศ์การพิมพ์.
2. ชื่อหนังสือ: กรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579)
สาระสังเขป: เอกสารชุดนี้รวบรวมความรู้เกี่ยวกับกรอบยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ทั้ง 6 ด้าน
บรรณานุกรม: รัฐบาล. (2560). กรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579). กรุงเทพฯ : รัฐบาล. (พาวเวอร์พอยต์)
3. ชื่อหนังสือ: ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579)
สาระสังเขป: เอกสารชุดนี้รวบรวมความรู้เกี่ยวกับภาพรวมยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี แนวคิดและกระบวนการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ มิติด้านความมั่นคงในยุทธศาสตร์ชาติ ฯลฯ
บรรณานุกรม: วิลาศ อรุณศรี. (2560). ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579). กรุงเทพฯ : สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ. (พาวเวอร์พอยต์).
4. ชื่อหนังสือ: การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาชีวิตอย่างยั่งยืน
สาระสังเขป: หนังสือเล่มนี้รวบรวมความรู้เกี่ยวกับการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาชีวิตอย่างยั่งยืน หลักคิด แนวคิด สภาพการจัดการศึกษาในปัจจุบัน พร้อมด้วยข้อเสนอแนะต่างๆ เกี่ยวกับการจัดการศึกษา ฯลฯ
บรรณานุกรม: เกษม วัฒนชัย. (2549). การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาชีวิตอย่างยั่งยืน. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า.
5. ชื่อหนังสือ: การจัดทำยุทธศาสตร์พัฒนาท้องถิ่น: จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ
สาระสังเขป: หนังสือนี้นำเสนอแนวคิดในการวางแผนในส่วนแรก และ ส่วนที่สองเป็นการประยุกต์แนวคิดจากส่วนแรกไปสู่การจัดทำ แผนยุทธศาสตร์พัฒนาท้องถิ่น โดยการให้ข้อเสนอแนะและ ตัวอย่างในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์พัฒนาท้องถิ่นในรูปแบบ ของการสนทนาและชวนกันเสวนา
บรรณานุกรม: ไพบูลย์ โพธิ์สุวรรณ. (2555). การจัดทำยุทธศาสตร์พัฒนาท้องถิ่น: จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า.
6. ชื่อหนังสือ: การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภายใต้รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540
สาระสังเขป: งานวิจัยเล่มนี้ได้พบว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มีเนื้อหาส่งเสริมและรับรองสิทธิในการพัฒนาที่ชัดเจนกว่าในอดีต แต่ก็เป็นผลจากความคิดที่ไม่ชนะหรือแพ้กันโดยเด็ดขาดระหว่างกลุ่มก้าวหน้ากับกลุ่มอนุรักษ์ ฉะนั้นจึงเป็นไปได้ที่จะพบปัญหาช่องว่างระหว่างหลักการ ฯลฯในรัฐธรรมนูญกับที่เกิดขึ้นจริง ฯลฯ
บรรณานุกรม: ฉันทนา บรรพศิริโชติ หวันแก้ว และคนอื่น. (2546). การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภายใต้รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และสถาบันพระปกเกล้า.
7. ชื่อหนังสือ: ข้อมูลกับการวางแผนพัฒนาท้องถิ่น
สาระสังเขป: เอกสารเล่มนี้รวบรวมความรู้เกี่ยวกับแนวทางในการจัดทำและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการวางแผนพัฒนาท้องถิ่น เพื่อเป็นฐานในการวางแผนยุทธศาสตร์พัฒนาท้องถิ่น ฯลฯ
บรรณานุกรม: ไพบูลย์ โพธิ์สุวรรณ. (2550). ข้อมูลกับการวางแผนพัฒนาท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : นครปฐมการพิมพ์.
8. ชื่อหนังสือ: คำอธิบายศัพท์การปกครองท้องถิ่น
สาระสังเขป: เอกสารชุดนี้เป็นการรวบรวมความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์การปกครองท้องถิ่น ที่ผู้นำ ผู้เรียนรู้ในการปกครองท้องถิ่น สามารถทำความเข้าใจได้
บรรณานุกรม: สถาบันพระปกเกล้า. (ม.ป.ป.). คำอธิบายศัพท์การปกครองท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า.
9. ชื่อหนังสือ: คู่มือการจัดทำแผนพัฒนาและงบประมาณ โดยใช้ทุนทางสังคมเป็นฐาน
สาระสังเขป: คู่มือเล่มนี้รวบรวมความรู้เกี่ยวกับการมี่ส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาและงบประมาณสำหรับท้องถิ่น ข้อมูลทุนทางสังคม การจัดทำแผนพัฒนาและงบประมาณโดยใช้ทุนทางสังคมเป็นฐาน การติดตามประเมินผลและถอดบทเรียน
บรรณานุกรม: โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็.ให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคใต้ของประเทศไทย. (2558). คู่มือการจัดทำแผนพัฒนาและงบประมาณ โดยใช้ทุนทางสังคมเป็นฐาน. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า.
10 ชื่อหนังสือ: คู่มือการจัดทำแผนพัฒนาและงบประมาณ โดยใช้ทุนทางสังคมเป็นฐาน
สาระสังเขป: คู่มือเล่มนี้รวบรวมความรู้เกี่ยวกับการจัดทำแผนพัฒนาและงบประมาณ โดยใช้ทุนทางสังคมเป็นฐาน ขั้นตอนการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำแผนพัฒนาและงบประมาณโดยใช้ทุนทางสังคมเป็นฐาน ฯลฯ
บรรณานุกรม: ถวิลวดี บุรีกุล และคนอื่น. (2558). คู่มือการจัดทำแผนพัฒนาและงบประมาณ โดยใช้ทุนทางสังคมเป็นฐาน. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า.
11. ชื่อหนังสือ: คู่มือการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตัดสินใจของชุมชน
สาระสังเขป: หนังสือเล่มนี้รวบรวมความรู้เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในหลายๆ รูปแบบอย่างกว้างขวาง เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประชาธิปไตยอย่างสันติวิธี ฯลฯ
บรรณานุกรม: เจมส์ แอล เครตัน. (2548). คู่มือการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตัดสินใจของชุมชน. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า และมูลนิธิอาเซีย
12. ชื่อหนังสือ: ตัวอย่างการมีส่วนร่วมของประชาชนและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
สาระสังเขป: หนังสือเล่มนี้รวบรวมความรู้เกี่ยวกับแนวทางการเสริมสร้างประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ปัญหา อุปสรรค และทางออก เป็นประโยชน์ในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในระบอบประชาธิปไตยต่อไป
บรรณานุกรม: คะนึงนิจ ศรีบัวเอี่ยม และคนอื่น (กองบรรณาธิการ). (2544). กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า.
13. ชื่อหนังสือ: ทิศบ้านทางเมือง
สาระสังเขป: หนังสือเล่มนี้รวบรวมความรู้เกี่ยวกับการกระจายอำนาจและการปกครองท้องถิ่น การพัฒนาประชาธิปไตยจากระดับฐานราก การสร้างความปรอดงดองแห่งชาติ กระบวนการยุติธรรมหัวใจสำคัญของประชาธิปไตย ฯลฯ
บรรณานุกรม: วุฒิสาร ตันไชย. (2555). ทิศบ้านทางเมือง. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า.
14. ชื่อหนังสือ: แผนพัฒนาจังหวัดฉบับเจ้าเมือง
สาระสังเขป: หนังสือเล่มนี้รวบรวมความรู้เกี่ยวกับแผนพัฒนาจังหวัดฉบับเจ้าเมือง จะช่วยเป็นแนวทางและแรงบันดาลใจให้แก่หลายๆ ชุมชนได้ตระหนักถึงศักยภาพของตนเองและภาคส่วนต่างๆ ในชุมชน ได้ประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น
บรรณานุกรม: จารุวรรณ แก้วมะโน. (2556). แผนพัฒนาจังหวัดฉบับเจ้าเมือง. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า.
15. ชื่อหนังสือ: การพัฒนาที่ยั่งยืนในบริบทไทย
สาระสังเขป: เอกสารเล่มนี้รวบรวมความรู้เกี่ยวกับกรอบแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืน การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน การพัฒนาสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ฯลฯ
บรรณานุกรม: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2546). เอกสารประกอบการประชุมประจำปี การพัฒนาที่ยั่งยืนในบริบทไทย. นนทบุรี : สำนักงาน
16. ชื่อหนังสือ: ผนึกกำลังสร้างสรรค์งานพัฒนาท้องถิ่นที่ยั่งยืน
สาระสังเขป: หนังสือเล่มนี้รวบรวมความรู้จากปาฐกถาเรื่อง การพัฒนาแบบมุ่งเน้นพื้นที่ จุดเปลี่ยนการพัฒนาในประเทศไทย ผนึกกำลังสร้างสรรค์งานพัฒนาท้องถิ่นที่ยั่งยืน
บรรณานุกรม: ขนิษฐา สุขะวัฒนะ. (2551). ผนึกกำลังสร้างสรรค์งานพัฒนาท้องถิ่นที่ยั่งยืน. กรุงเทพฯ : ธรรมดาเพรส.
17. ชื่อหนังสือ: แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ.๒๕๖๐ - ๒๕๖๔
สาระสังเขป: แผนฉบับที่สิบสองนี้รวบรวมความรู้เกี่ยวกับภาพรวมการพัฒนาในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๒ การประเมินสภาพแวดล้อมการพัฒนาประเทศ วัตถุประสงค์และเป้าหมายการพัฒนาในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๒ ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ และการขับเคลื่อนและติดตามประเมินผลแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๑๒
บรรณานุกรม: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). กรุงเทพฯ : สำนักงาน.
18. ชื่อหนังสือ: พิมพ์เขียวและแผนปฏิบัติการขับเคลื่อน Thailand 4.0 โมเดลขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน
สาระสังเขป: หนังสือเล่มนี้รวบรวมความรู้เกี่ยวกับพิมพ์เขียวและแผนปฏิบัติการขับเคลื่อน Thailand 4.0 โมเดลขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ครอบคลุมใน 4 มิติ คือ ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ ความอยู่ดีมีสุขทางสังคม การยกระดับคุณค่ามนุษย์ การรักษ์สิ่งแวดล้อม
บรรณานุกรม: สำนักงานประสานงานการขับเคลื่อน Thailand 4.0. (2559). พิมพ์เขียวและแผนปฏิบัติการขับเคลื่อน Thailand 4.0 โมเดลขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน. กรุงเทพฯ : สำนักงาน.
19. ชื่อหนังสือ: เอกสารประกอบการสัมมนา ยุทธศาสตร์ประเทศไทยในติมิการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และการบริหารระบบราชการ
สาระสังเขป: เอกสารเล่มนี้รวบรวมความรู้เกี่ยวกับยุทธศาสตร์การฟื้นฟูประเทศเพื่อสร้างความเข้มแข็งของสังคมไทย แนวทางการฟื้นฟูประเทศเพื่อสร้างความเข้มแข็งของสังคมไทย สู่กระบวนทัศน์ร่วมใหม่ในสังคม
บรรณานุกรม: สถาบันพระปกเกล้า. (2554). เอกสารประกอบการสัมมนา ยุทธศาสตร์ประเทศไทยในติมิการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และการบริหารระบบราชการ. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า.
20. ชื่อหนังสือ: ร่างกรอบยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2575) (สรุปย่อ)
สาระสังเขป: ร่างกรอบยุทธศาสตร์ ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2575) (สรุปย่อ) ว่าด้วยยุทธศาสตร์ชาติ กรอบการพัฒนาระยะยาว ความเป็นมา สาระสำคัญ วิสัยทัศน์ ฯลฯ
บรรณานุกรม: สำนักนายกรัฐมนตรี. (2560). ร่างกรอบยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2575) (สรุปย่อ). กรุงเทพฯ : สำนัก
21. ชื่อหนังสือ: โลกในศตวรรษที่ 21 ความจริงที่ผู้นำยุคใหม่ต้องรู้
สาระสังเขป: เอกสารชุดนี้รวบรวมความรู้เกี่ยวกับสถานะปัจจุบันของเศรษฐกิจการเมืองและสังคมไทย แนวโน้มใหญ่ของโลก ลักษณะพิเศษของอาเซียน ความจำเป็นในการปฏิรูปการศึกษา ความเป็นผู้นำในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง
บรรณานุกรม: ณัชชาภัทร อุ่นตรงจิตร (เรียบเรียง). (2559). โลกในศตวรรษที่ 21 ความจริงที่ผู้นำยุคใหม่ต้องรู้. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า. (ไม่ได้ตีพิมพ์).
22. ชื่อหนังสือ: สถาบันพระมหากษัตริย์กับสังคมไทย
สาระสังเขป: หนังสือเล่มนี้รวบรวมความรู้เกี่ยวกับสถานะและบทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ในสังคมไทยปัจจุบัน และทัศนคติของประชาชนที่มีต่อสถานะและบทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ในปัจจุบัน ฯลฯ บรรณานุกรม: ปรีชา หงส์ไกรเลิศ. (2558). สถาบันพระมหากษัตริย์กับสังคมไทย. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า.
บรรณานุกรม: ปรีชา หงส์ไกรเลิศ. (2558). สถาบันพระมหากษัตริย์กับสังคมไทย. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า.
23. ชื่อหนังสือ: สภาองค์กรชุมชน : การเมืองใหม่และการท้าทายต่อกลุ่มอำนาจในท้องถิ่น
สาระสังเขป: บทความนี้รวบรวมความรู้เกี่ยวกับสภาองค์กรชุมชน ในฐานะเป็นกระบวนการพัฒนาชุมชนเข้มแข็งซึ่งกล่าวได้ว่าเป็นศิลปะในการปกครอง ของรัฐไทยสมัยใหม่และมีลักษณะเป็นการบริหารจัดการชีวิตประชาชนอย่างลึกซึ้ง ฯลฯ
บรรณานุกรม: รัชนี ประดับ. (2556). สภาองค์กรชุมชน : การเมืองใหม่และการท้าทายต่อกลุ่มอำนาจในท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า.
24. ชื่อหนังสือ: องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : รับ และ รุก อย่างไรกับประชาคมอาเซียน
สาระสังเขป: หนังสือเล่มนี้รวบรวมความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน และผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ประชาคมอาเซียนกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ข้อเสนอแนะต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการ รับ และ รุก กับประชาคมอาเซียน
บรรณานุกรม: วุฒิสาร ตันไชย. (2556). องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : รับ และ รุก อย่างไรกับประชาคมอาเซียน. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า.
25. ชื่อหนังสือ: คู่มือการประชาเสวนาหาทางออก : ทางออกที่ทุกคนต้องร่วมกันเลือก อนาคตประเทศไทย : เหตุใดประชาชนต้องมาร่วมกันประชาเสวนาหาทางออกให้ประเทศ
สาระสังเขป: คู่มือเล่มนี้รวบรวมความรู้เกี่ยวกับการประชาเสวนาหาทางออก กรบวนการในระบอบอประชาธิปไตยในการกำหนดอนาคตประเทศไทย การเตรียมตัวในการทำกระบวนการประชาเสวนาหาทางออก การดำเนินการ ขั้นตอน และวิธีการประชาเสวนาหาทางออก
บรรณานุกรม: วันชัย วัฒนศัพท์. (2555). คู่มือการประชาเสวนาหาทางออก : ทางออกที่ทุกคนต้องร่วมกันเลือก อนาคตประเทศไทย : เหตุใดประชาชนต้องมาร่วมกันประชาเสวนาหาทางออกให้ประเทศ. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า.