Sat. Jul 27th, 2024

    วิธีการ

    ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการสร้างแผ่นดินศานติสุข

    โดย

    สตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์ประเวศ วะสี

    ปาฐกถาพิเศษในการประชุมมหกรรมการวิจัยแห่งชาติ ๒๕๖๕

    โดย สํานักงานวิจัยแห่งชาติ (วช.)

    ณ วันที่ 4 สิงหาคม ๒๕๖๕

    วิกฤตอารยธรรมโลก

            จะเข้าใจความหมายและความสําคัญของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ต้องเริ่มที่วิกฤตอารยธรรมโลก

            อารยธรรมปัจจุบัน เริ่มเมื่อชาวยุโรปค้นพบวิธีสร้างความรู้ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ เมื่อประมาณ ๔๐๐ ปีก่อน ซึ่งเป็นความรู้ที่คมชัดลึก ความรู้ทางวิทยาศาสตร์นําไปสู่เทคโนโลยีที่ ทรงพลัง เช่น เครื่องจักร และอาวุธอันทรงอํานาจมหาศาล ชาวยุโรปได้ใช้อํานาจที่พบใหม่แย่งชิง ดินแดนและทรัพยากรของชาวพื้นเมืองทั่วทุกทวีปนํามาสร้างความมั่งคั่งให้ยุโรป ความมั่งคั่ง ความรู้ อํานาจ และอาวุธ ยุโรปได้เผยแพร่ระบบชีวิตและเศรษฐกิจที่ตนคิดไปทั่วโลก จนเป็น อารยธรรมโลกที่นําและกํากับโดยตะวันตก และเรียกกันว่า อารยธรรมตะวันตก (Western Civilization) ซึ่งเป็นอารยธรรมโลกในปัจจุบัน

            ถ้าพิจารณา “รหัสการพัฒนา” ของชาวตะวันตก กับรหัสการพัฒนาของพระเจ้าอยู่หัว ร.๙ ที่แตกต่างกัน จะเข้าใจความสําคัญของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

            คําว่า “รหัสการพัฒนา” เอาอย่างมาจากคําว่า รหัสพันธุกรรม หรือ genetic Code ที่ อณูของ DNA ซึ่งเป็นสารพันธุกรรมจะมีการเรียงตัวกันของ base ๓ ตัว เป็น ๑๑ Cordon หรือ หน่วยรหัส เรียกว่า Triplets เช่น ATC CCC CTA รหัสพันธุกรรมนี้เป็นตัวกําหนดให้กรดอะมิโน ตัวใดมาเข้าแถวเรียงกัน ซึ่งจะเป็นตัวกําหนดลักษณะชีวิตหนึ่ง ๆ

    รหัสการพัฒนา ก็เป็นตัวกําหนดการพัฒนา

    รหัสการพัฒนาของตะวันตก คือ ความรู้ – อํานาจ – แย่งชิง คือ ต้องสร้างความรู้ แล้ว ใช้ความรู้ไปเป็นอํานาจ และใช้อํานาจไปแย่งชิง ลองดูให้ดี ๆ เถิด ไม่หนีไปจากนี้ และรหัสการพัฒนานี้นําไปสู่อารยธรรมปัจจุบัน เรียกสั้น ๆ ว่าเป็น ทางสายอํานาจ

            ส่วนรหัสการพัฒนาของพระเจ้าอยู่หัว ร.๙ คือ “ปัญญา – ไมตรีจิต – การอยู่ร่วมกัน” ซึ่งทรงนํามาจากหลักทิศทางพุทธศาสนาซึ่งทรงศึกษาอย่างลึกซึ้ง

            ปัญญานั้นใหญ่กว่าความรู้ หมายถึงรู้ความจริงของธรรมชาติ จึงเรียกว่า ธรรมะ หรือ ธรรมชาติ รวมทั้งความจริงในตัวมนุษย์เอง และลดละความเห็นแก่ตัวหรือความมีตัวตน ซึ่งเป็น บ่อเกิดของอกุศลมูล คือ โลภะ โทสะ โมหะ

            ลองสังเกตสิ่งที่พระเจ้าอยู่หัวตรัสถึงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในแง่มุมต่าง ๆ เช่น ความ ไม่โลภ ในขณะที่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจตะวันตกใช้ความโลภเป็นแรงขับเคลื่อน ผลจึงต่างกันมาก

            โลกสมัยใหม่แม้มีความเจริญทางวัตถุอย่างมหัศจรรย์ แต่ก็นําโลกทั้งโลกไปสู่การเสีย สมดุลอย่างรุนแรงในทุกมิติ ทั้งธรรมชาติแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคม การเมือง และในตัวมนุษย์เอง อะไรที่ไม่สมดุลก็จะไม่สงบสุข ปั่นป่วน วุ่นวาย รุนแรง ไม่ยั่งยืน

            ทุกวันนี้มนุษย์ทั่วโลกลําบากยากเข็ญเกินไป เพราะความยากจน ความเหลื่อมล้ํา การ ขาดความเป็นธรรม ความไม่แน่นอน ปั่นป่วน โกลาหล สงคราม และความรุนแรงในรูปต่าง ๆ

            ความโกลาหลที่เข้มข้นเป็นภาพที่ไม่เสถียร ไม่สามารถดํารงอยู่ในสภาวะอย่างนี้ได้นาน ธรรมชาติจะจัดระบบใหม่ (new order) ที่มีความเสถียร ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นกระบวน ทัศน์ใหม่ (New Paradigm) ที่จะทําให้เกิดระบบใหม่ที่มีความเสถียร

    ระบบใหม่ที่เสถียร

    (Stable New Order)

           

            สภาวะที่ไม่สมดุลจะต้องใช้พลังงานมากในการดํารงตนเองจึงไม่เสถียรตรงข้ามกับระบบ ที่สมดุล ตามรูป       

       

    รูปที่ ๑ สภาวะที่ไม่เสถียร และสภาวะที่เสถียร

            สภาวะโลกที่ปั่นป่วน วุ่นวาย รุนแรง ไม่เสถียร เกิดจากการพัฒนาที่ไม่สมดุล ระเบียบ ใหม่ที่สมดุลจะต้องเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ สภาวะที่ไม่สมดุลเกิดจากการพัฒนาแบบแยกส่วน

            ระบบใด ๆ มีความเป็นองค์รวมเดียวกัน เช่น ระบบร่างกายมนุษย์ เซลล์มะเร็ง ขาดสํานึก แห่งองค์รวม มันทําตัวแยกส่วนเป็นเอกเทศไม่คํานึงถึงองค์รวมของร่างกายทั้งหมด จึงทําให้เสีย สมดุลขาดความเป็นปรกติสุข คือ ป่วย และไม่ยั่งยืน

             โลกปัจจุบันพัฒนาแบบแยกส่วนจึงประดุจเป็นมะเร็งเสียสมดุลป่วยและไม่ยั่งยืน

          ฉะนั้นระเบียบโลกใหม่ที่ยั่งยืนต้องเป็นโลกที่พัฒนาอย่างบูรณาการ ทําให้เกิดความสมดุล ของการอยู่ร่วมกัน ทั้งคนกับคน และคนกับสิ่งแวดล้อม

    ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระเจ้าอยู่หัว ร.๙

    กระบวนทัศน์ใหม่ในการพัฒนาอย่างสมดุล

           Albert Einstein กล่าวว่า “ถ้ามนุษย์ชาติจะอยู่รอดได้ ต้องมีวิถีคิดใหม่โดยสิ้นเชิง” (We shall need a radically new manner of thinking, if mankind is to survive)

          ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช่เรื่องเทคนิคนิด ๆ หน่อย ๆ แต่เป็นวิถีคิดใหม่โดยสิ้นเชิง หรือเรียกว่า กระบวนทัศน์ใหม่ในการพัฒนา (New Development Paradigm)

            ต้องพิจารณาพระราชดํารัสในแง่มุมต่าง ๆ เกี่ยวกับการพัฒนาวิถีใหม่ เช่น “ความไม่โลภ ความมีเหตุผล ความพอดี ความมีภูมิคุ้มกัน การใช้ปัญญา” “เราควรถอยหลังเข้าคลอง เพราะในคลองมีความปลอดภัย เรือไม่ล่มง่าย ๆ”

    ในพระราชนิพนธ์พระมหาชนก พวกพ่อค้ามีความโลภจะไปแสวงหาความร่ํารวยที่ สุวรรณภูมิ เรือโดนคลื่นลมแรงในมหาสมุทรอับปางลง พ่อค้าตายหมด

    “ใครจะว่าเชยก็ช่างเขา ขอให้เราพออยู่พอกิน และมีไมตรีจิตรต่อกัน”

           คําว่า “พออยู่พอกิน และมีไมตรีจิตต่อกัน” บ่งถึงความร่มเย็นเป็นสุข หรือแผ่นดิน ศานติสุข ซึ่งมีอยู่มีกินอย่างพอเพียงถ้วนหน้าและมีไมตรีจิตต่อกัน ไม่ใช่แย่งชิงกันอย่างเสรีเพื่อ ความมั่งคั่งของตนเอง และทอดทิ้งกันอย่างการพัฒนาโลกแบบเก่า

            ในสิ่งที่เรียกว่า “เกษตรทฤษฎีใหม่” ที่ทรงทําให้ดูคือ การเกษตรที่จัดความสัมพันธ์ของ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องให้บูรณาการกัน เช่น ที่ดิน แหล่งน้ํา ต้นไม้ สัตว์เลี้ยง และพืช เพื่อยังชีวิต เมื่อ ปัจจัยต่าง ๆ บูรณาการกันก็เกิดความสมดุล ความสมดุลก็หล่อเลี้ยงมนุษย์โดยไม่เหนื่อยยาก ดังที่ มาซาโนบุ ฟูกูโอกะ ชาวนาญี่ปุ่นผู้เขียนเรื่อง “ปฏิวัติยุคสมัยด้วยฟางเส้นเดียว” ว่า เกษตร ธรรมชาตินั้นธรรมชาติหรือพระเจ้าก่อผลิตผลหล่อเลี้ยงมนุษย์ โดยมนุษย์ไม่ต้องไปทําอะไรมาก ให้เหนื่อยยาก เพียงแต่จัดความสัมพันธ์อย่างบูรณาการ

            โดยสรุป ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักคิดหรือทฤษฎีการพัฒนาอย่างบูรณาการ เพื่อความสมดุล หรือความร่มเย็นเป็นสุข หรือสัมมาทิฏฐิของการพัฒนา

            สัมมาทิฏฐิ เป็นปฐมบทแห่งการสัมมาปฏิบัติ ฉันใด สัมมาทิฏฐิของการพัฒนา ก็เป็นปฐมบทของสัมมาพัฒนา ฉันนั้น เมื่อมีหลักคิดที่ถูกต้องแล้ว เราก็ต้องมีมรรควิธีแห่งการปฏิบัติ

    การออกแบบสร้างแผ่นดินศานติสุข

            การจะทําอะไรให้ได้ผลใหญ่ จะคิดแต่เชิงเทคนิคเท่านั้นก็จะไม่ประสบผล ต้องคิดเชิง ระบบและการจัดการ

    การคิดเชิงระบบอย่างหนึ่ง คือ การออกแบบ

            เมื่อทราบวัตถุประสงค์ว่าต้องการผลอย่างไรแล้ว ก็ออกแบบระบบและโครงสร้างที่จะให้ มีคุณสมบัติตามนั้น เช่น ถ้าต้องการอะไรที่บินได้ ก็ต้องออกแบบระบบและโครงสร้างของ เครื่องบิน แล้วหาส่วนประกอบหรือชิ้นส่วนมาประกอบตามโครงสร้าง เมื่อครบเป็นเครื่องบินซึ่ง เป็นองค์รวมก็มีคุณสมบัติใหม่ผุดบังเกิด (Emerge) ขึ้น คือบินได้

            ในขณะที่ชิ้นส่วนต่าง ๆ ไม่มีส่วนไหนบินได้เลย ต่อเมื่อเป็นองค์รวมจึงมีคุณสมบัติใหม่อัน มหัศจรรย์

          การพัฒนาที่ทําเป็นส่วน ๆ ไม่บูรณาการเป็นองค์รวม จึงไม่เคยได้ลิ้มรสอันมหัศจรรย์ของ ความเป็นองค์รวมเลย

         ฉะนั้น ถ้าต้องการผลใหญ่จากการพัฒนาตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จะทําเชิงเทคนิค เท่านั้นไม่ได้ แต่ต้องออกแบบระบบและโครงสร้าง

           ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักคิด นํามาออกแบบระบบและโครงสร้างไม่ได้ ต้องเอา วัตถุประสงค์หรือผลที่ต้องการมาเป็นตัวตั้ง จึงจะออกแบบได้

         วัตถุประสงค์ของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร คือ พออยู่พอกิน และมีไมตรีจิตต่อกัน หรือความร่มเย็นเป็นสุข หรือแผ่นดินศานติสุข เราสามารถออกแบบระบบและโครงสร้างของแผ่นดินศานติสุขได้

          แผ่นดินศานติสุข คือ แผ่นดินที่มีการพัฒนาอย่างบูรณาการ ๔ มิติ คือ เศรษฐกิจ – จิตใจ สังคม สิ่งแวดล้อม – วัฒนธรรม – สุขภาพ การศึกษา – ประชาธิปไตย

         บูรณาการอยู่ในกันและกัน ไม่แยกเป็นส่วน ๆ โดยมี สัมมาชีพเต็มพื้นที่เป็นจุดคานงัด

         การมีสัมมาชีพเต็มพื้นที่ เป็นปัจจัยของความร่มเย็นเป็นสุขและความเจริญทุกทาง จึง เป็นจุดคานงัดที่จะขาดเสียมิได้ การมีสัมมาชีพเต็มพื้นที่ก็ตรงกับ “การพออยู่พอกิน และมีไมตรี จิตต่อกัน” ตามพระราชกระแสนั่นเอง

         เราสามารถออกแบบให้พื้นที่ทุกหมู่บ้าน ทุกตําบล ทุกอําเภอ มีการพัฒนาอย่างบูรณาการ และมีสัมมาชีพเต็มพื้นที่ได้

          การพัฒนาอําเภออย่างบูรณาการ สู่แผ่นดินสันติสุข เรื่องนี้ได้เขียนคู่มือไว้แล้ว

           โดยย่อ ๑ อําเภอมีประมาณ ๑๐ ตําบล ๑๐๐ หมู่บ้าน เมื่อแต่ละหมู่บ้านแต่ละตําบลทั้ง อําเภอมีการพัฒนาอย่างบูรณาการ และมีสัมมาชีพเต็มพื้นที่ทุกหมู่บ้าน ทุกตําบล ทั้งอําเภอ พื้นที่หรือแผ่นดินทั้งอําเภอก็จะมีความร่มเย็นเป็นสุข เป็นแผ่นดินศานติสุข

     

    การมีสัมมาชีพเต็มพื้นที่คือดัชนีชี้วัดการพัฒนาตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

       

             จีดีพี ไม่ใช่ดัชนีชี้วัดการพัฒนาเศรษฐกิจที่ดี และเป็นต้นเหตุของการเพิ่มขึ้นของความ เหลื่อมล้ํา เพราะจีดีพี่ไม่ได้บอกการกระจาย คนส่วนน้อยมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นมากก็ทําให้จีดีพี่สูง แต่คนส่วนใหญ่ยากจน

          ธรรมชาติของเศรษฐกิจมหภาค คือ รวยกระจุกจนกระจาย ยิ่งเร่งจีดีพี่ซึ่งเป็นดัชนีการ เติบโตของเศรษฐกิจมหภาคความเหลื่อมล้ําก็ยิ่งเพิ่มขึ้น ดังที่ปรากฏในสหรัฐอเมริกา ที่เกิด ปรากฏการณ์ที่เรียกว่า 99 : 1 คือ การพัฒนาเป็นประโยชน์ต่อคนเปอร์เซ็นต์เดียวส่วนอีก 99 เปอร์เซ็นต์ ไม่ได้ประโยชน์หรือเสียประโยชน์ ความเหลื่อมล้ําที่มากทําให้เกิดผลเสียเป็นลูกโซ่ ตามมาอย่างมหาศาล

          การมีสัมมาชีพเต็มพื้นที่ เป็นดัชนีที่ดีกว่า เพราะบอกการกระจายอย่างทั่วถึงและความ เป็นธรรม การมีสัมมาชีพเต็มพื้นที่ยังเป็นจุดคานงัดที่ทําให้เกิดผลดีตามมาเป็นลูกโซ่จนถึงระบบ เศรษฐกิจมหภาคด้วย เช่น

          ทําให้ครอบครัวอบอุ่น การพัฒนาคุณภาพเด็ก เยาวชน และครอบครัว ซึ่งสําคัญอย่างยิ่ง ต่ออนาคตของประเทศ เป็นไปได้ถ้าคนจํานวนมากไม่มีงานทํา ไม่มีรายได้ สามีต้องออกจากบ้าน ไปหางานทําที่อื่นหรือต่างประเทศ หรือทํางานทั้งสามีและภรรยาแล้วก็ยังไม่พอกินพอใช้ ไม่มี เวลาเลี้ยงลูก การพัฒนาคุณภาพเด็ก เยาวชน และครอบครัว เป็นไปไม่ได้เลย

             สุขภาพ ความยากจนกระทบสุขภาพทั้งกาย ใจ สังคม

            การศึกษา การศึกษาที่เชื่อมโยงกับการสร้างสัมมาชีพเต็มพื้นที่ จะเป็นการศึกษาที่พัฒนา คนได้มากกว่าการศึกษาแบบท่องวิชา

         คุณธรรมและศีลธรรม การพัฒนาจิตใจหรือธรรมะแบบแยกส่วนไม่ได้ผล คนที่ยาก จนเกินไป เครียด จิตใจไม่ดี และมีพฤติกรรมเบี่ยงเบน มีตัวอย่างมาแล้ว ตําบลที่มีสัมมาชีพเต็ม พื้นที่ ความชั่วช้าต่าง ๆ หายไปหมด เกิดความร่มเย็นเป็นสุขและศีลธรรมอันดีงาม

              เศรษฐกิจมหภาค การมีสัมมาชีพเต็มพื้นที่ ทําให้ประชาชนทั้งประเทศมีอํานาจซื้อ เพิ่มขึ้นมหาศาล ทําให้เศรษฐกิจมหภาคเติบโตอย่างมั่นคง ไม่วูบวาบ พลิกผัน วิกฤตเป็นประจํา เหมือนเมื่อต้องพึ่งพาตลาดต่างประเทศ ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยแปรผันอันหลากหลายอันควบคุม ไม่ได้ อย่างสงครามยูเครนในปัจจุบันทําให้เงินเฟ้อไปทั่วโลก ถ้าเศรษฐกิจมหภาคอยู่บนฐานของ เศรษฐกิจชุมชน ซึ่งมีสัมมาชีพเต็มพื้นที่ก็จะมั่นคง ถึงต่างประเทศจะพลิกผันอย่างไร ๆ เราก็ไม่ เป็นไร

                  การมีสัมมาชีพเต็มพื้นที่ จึงควรเป็นระเบียบวาระแห่งชาติ ที่ทุกคน ทุกภาคส่วน เข้า มามีส่วนร่วม

                นี่แหละยุทธศาสตร์การพัฒนา ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

    องค์ประกอบสําคัญยิ่งยวด

    (Crucial Component) ของการพัฒนา

             ในการพัฒนาอะไร ๆ มักประกอบด้วยองค์ประกอบหลายอย่าง แต่มีอยู่อย่างหนึ่งที่ เรียกว่า Crucial Component ซึ่งถ้าทําอย่างอื่นทั้งหมด แต่ไม่ทําตรงองค์ประกอบสําคัญยิ่งยวด ก็จะไม่สําเร็จ ส่วนใหญ่จะทําตรงองค์ประกอบอื่น ๆ การพัฒนาส่วนใหญ่จึงไม่สําเร็จ

            การพัฒนาชนบทหรือพัฒนาพื้นที่ มีองค์ประกอบทั้งหมด 4 อย่าง คือ

        ถ้าเขียนเป็นไดอะแกรม ก็ได้ตามรูปที่ ๒ 

            นิวเคลียสตรงกลาง ๖ ๗ ๘ หรือกระบวนการชุมชน คือ องค์ประกอบสําคัญยิ่งยวด

            ในการพัฒนาชนบทหรือพัฒนาพื้นที่มักทําในองค์ประกอบ ๑ แต่ไม่ทํา 5 – ๘ จึงไม่สําเร็จ ก็อาจจะแปลกใจว่าในเมื่อเงินทุน เครดิต เป็นสิ่งสําคัญก็ทําแล้ว เช่น กองทุนชุมชน SME ทําไม จึงยังไม่สําเร็จ นั่นเป็นเพราะขาด 5 – ๘ ซึ่งเป็นองค์ประกอบสําคัญยิ่งยวด ฉะนั้นต้องทําความ เข้าใจตรงนี้ให้ดี ๆ

             กระบวนการชุมชน นั้น ประกอบด้วย

     ๕ องค์กรจัดการ

    ความรู้ ข้อมูลและความรู้ในการใช้งาน

     การเรียนรู้ 

    ๘ ถ้ามีความรู้โดยไม่เรียนรู้ก็ยังใช้ไม่ได้ เหมือนมีตําราแต่ไม่เรียนรู้จะมี ประโยชน์อย่างไร

            ทั้ง ๓ ประกอบกันเป็นกระบวนการชุมชน ซึ่งมี ๗ ขั้นตอน ดังนี้