ทรัพยากรประกอบการเรียนรู้ 2/2563
ชื่อวิชา กระบวนทัศน์และวาทกรรมการพัฒนา
(Development Discourse and Paradigm)
รหัสวิชา CE634202 หมวดวิชาเฉพาะ
สาขาวิชาการพัฒนาชีวิตและประกอบการชุมชน
(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563)
สำนักหอสมุดและสารสนเทศ สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน
(รวมจำนวน 16 ชื่อเรื่อง)
***ขอขอบคุณแหล่งที่มาของเอกสารอ่านประกอบในรูปแบบ E-book – PDF***
บรรณนิทัศน์
สาระสังเขป:
วารสารเล่มนี้ได้รวบรวมความรู้เกี่ยวกับ วาทกรรมการพัฒนาในสังคมไทย เป็นการรวบรวมเรื่องราวที่แสดงให้เห็นถึงการทำงานของวาทกรรม วาทกรรมการพัฒนาในสังคมไทยในโลกยุคโลกาภิวัฒน์
บรรณานุกรม:
ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (๒๕๔๙). วาทกรรมการพัฒนาในสังคมไทย. วารสารร่มพฤกษ์, ๒๔(๑-๒).
แหล่งที่มา: หนังสือหมวดสังคมศึกษา (H) งานห้องสมุด สำนักหอสมุดและสารสนเทศ สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน
สาระสังเขป:
หนังสือเล่มนี้ได้รวบรวมความรู้เกี่ยวกับขบวนการทางสังคม ในสำนักทฤษฎีพฤติกรรมรวมหมู่ ทฤษฎีการระดมทรัยพากร ทฤษฎีกระบวนการ ทฤษฎีการสร้างกรอบโครงความคิด และทฤษฎีบวนการทางสังคมแบบใหม่ เพื่อศึกษาและทำความเข้าใจในทฤษฎีอย่างเป็นระบบ เพื่อสามารถนำไปสร้างงานวิจัยต่อไปได้
บรรณานุกรม:
มณีมัย ทองอยู่. (2557). แนวคิดทฤษฎีสังคมวิทยาว่าด้วยขบวนการทางสังคม. ขอนแก่น: ศูนย์วิจัยพหุ ลักษณ์สังคมลุ่มน้ำโขง มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
แหล่งที่มา: https://plurality.kku.ac.th/books/file/2557_2.pdf
สาระสังเขป:
บทความนี้มุ่งหมายแนะนำหนังสือเรื่อง “กรอบการวิเคราะห์การเมืองแบบทฤษฎีขบวนการทางสังคม” เพื่อใช้ทำความเข้าใจพฤติกรรมการเคลื่อนไหวทางการเมืองและขบวนการทางสังคม เพื่อใช้พัฒนาความรู้ วิเคราะห์พฤติกรรมของปัจเจกและพฤติกรรมกลุ่มขอบขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม
บรรณานุกรม:
วันชัย ธรรมสัจการ และธงพล พรหมสาขา ณ สกลนคร. (2561). บทวิจารณ์หนังสือ “กรอบการวิเคราะห์ การเมืองแบบทฤษฎีขบวนการทางสังคม” โดย ประภาส ปิ่นตบแต่ง. วารสารพฤติกรรมศาสตร์ 24(1), 183-190.
สาระสังเขป:
บทความนี้นำเสนอเกี่ยวกับจุดกำเนิดของแนวทางการศึกษาวัฒนธรรมชุชน/หมู่บ้านไทยอย่างเป็นรูปธรรม การศึกษาชุมชน/หมู่บ้านเพื่อตอบปัญหาการพัฒนา การสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน/หมู่บ้าน พยายามนำเสนอเพื่อตอบคำถามว่า อะไรคือวัฒนธรรมชุมชนและส่งผลต่อความเข้มแข็งชุมชนอย่างไร
บรรณานุกรม:
สุรวุฒิ ปัดไธสง. (2545). วัฒนธรรมชุมชน: เงื่อนไขความเข้มแข็งชุมชน/หมู่บ้าน. วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 8(1). 11-20.
สาระสังเขป:
เอกสารประกอบการบรรยายได้รวบรวมความรู้เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนในมิติวัฒนธรรมและศาสนา แนวคิดสิทธิมนุษยชนขององค์การสหประชาชาติในช่วยแรก แนวคิดสิทธิมนุษยชนในมิติวัฒนธรรม การมองเรื่องสิทธิมนุษยชนจากมิติวัฒนธรรม ความหลากหลายทางวัฒนธรรมกับสิทธิทางวัฒนธรรม ฯลฯ
บรรณานุกรม:
อมรา พงศาพิชญ์. (2550). เอกสารประกอบการบรรยายหลักสูตร หลักนิติธรรมเพื่อประชาธิปไตย (นธป.) รุ่นที่ ๑ หัวข้อวิชา ความเชื่อทางศาสนาความคิดเห็นทางการเมืองกับสิทธิมนุษยชน. กรุงเทพฯ : กลุ่มงานวิทยาลัยรัฐธรรมนูญ สถาบันรัฐธรรมนูญศึกษา. (เอกสารอัดสำเนา).
สาระสังเขป:
หนังสือเล่มนี้รวบรวมความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาประเทศชาติ การถักทอความถูกต้องจากหน่วยงานย่อยขึ้นมา ชุมชนจัดการตนเอง รากฐานของความถูกต้องจากข้างล่าง ท้องถิ่นจัดการตนเอง เป้าหมายของการพัฒนาอย่างบูรณาการ ชุมชนจัดการตนเอง ท้องถิ่นจัดการตนเอง จังหวัดจัดการตนเอง คือการเปิดพื้นที่ทางสังคม และพื้นที่ทางปัญญาอย่างกว้างขวาง ความเป็นสถาบันและเครื่องมือเชิงสถาบันของชุมชนท้องถิ่น ทำยุทธศาสตร์ชุมชนท้องถิ่นให้เป็นยุทธศาสตร์ชาติ
บรรณานุกรม:
ประเวศ วะสี. (2555). ยุทธศาสตร์ชุมชนท้องถิ่น ยุทธศาสตร์ชาติเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน”.
กรุงเทพฯ : เครล คอมพิวเตอร์.
สาระสังเขป:
เป็นหนังสือที่รวบรวมความรู้เกี่ยวกับชุมชนกับเสรีภาพ แนวคิดเรื่องชุมชนในประเทศไทย วัฒนธรรมประชาธิปไตย และสิทธิจากมุมมองของชุมชน บนวิเคราะห์ข้อจำกัดและโอกาสของแนวคิดเรื่องชุมชนในประเทศไทย
บรรณานุกรม:
ธร ปีติดล. (ม.ป.ป.). แนวคิดเรื่องชุมชนนิยมกับการสร้างเสริมเสรีภาพ. (ม.ป.ท.: ม.ป.พ.)
สาระสังเขป:
ยุทธศาสตร์ชาติฉบับประชาชนรวบรวมความรู้เกี่ยวกับยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติมโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ
บรรณานุกรม:
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (ม.ป.ป.). ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561-2580) ฉบับ ประชาชน. (ม.ป.ท.: ม.ป.พ.)
สาระสังเขป:
แผนพัฒนาฯ ฉบับนี้จัดทำขึ้นช่วงเวลาการปฏิรูปประเทศท่ามกลางโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและเชื่อมโยงกันใกล้ชิดกันมากขึ้น โดยน้อมนำหลัก “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” มาเป็นปรัชญานำทางพัฒนาประเทศต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙-๑๑ เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและช่วยให้สังคมไทยสามารถยืนหยัดอยู่ได้อย่างมั่นคง มีการบริหารจัดการความเสี่ยง ส่งผลให้พัฒนาประเทศสู่ความสมดุลและยั่งยืน
บรรณานุกรม:
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (ม.ป.ป.). แผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๔. (ม.ป.ท.: ม.ป.พ.)
แหล่งที่มา:
สาระสังเขป:
วารสารเล่มนี้รวบรวมบทความวิชาการและงานวิจัย ที่มีบทความวิจัยเรื่อง มิเชล ฟูโกต์ : ความจริงที่บงการมนุษย์ : วาทกรรมกับการต่อสู้และอำนาจที่ไม่ใช่อำนาจ เป็นการนำเสนอแนวคิดของมิเชล ฟูโกต์ ในภาพรวมอย่างง่ายๆ เอาไว้
บรรณานุกรม:
พัชรสฤษดิ์ กนิษฐเสน. (2556). มิเชล ฟูโกต์ : ความจริงที่บงการมนุษย์ : วาทกรรมกับการต่อสู้และอำนาจที่ ไม่ใช่อำนาจ. วารสารลำปางหลวง, 1(2), 17-28.
แหล่งที่มา: http://www.human.lpru.ac.th/husocweb/journal/journal-2556_2.pdf
สาระสังเขป:
งานวิจัยนี้ได้แสวงหาแนวทางการนำวิธีวิทยาการวิเคราะห์วาทกรรมแนววิพากษ์มาใช้สำหรับการศึกษาการพัฒนา ศึกษาทบทวนแนวคิดทฤษฎีของนักคิดสำคัญที่จัดอยู่ในกลุ่มวิเคราะห์วาทกรรมแนววิพากษ์ และเป็นการศึกษาในเชิงพรรณนาวิเคราะห์ให้เห็นถึงรูปแบบ แนวทางการวิเคราะห์วาทกรรม
บรรณานุกรม:
สามชาย ศรีสันต์. (2557). วิธีวิทยาวิเคราะห์วาทกรรมแนววิพากษ์ในการศึกษาการพัฒนา. (ม.ป.ท.: ม.ป.พ.)
สาระสังเขป:
บทความนี้กล่าวถึง วาทกรรม “ชาวบ้าน” กับการจำกัดตนเองในการมีส่วนร่วมทางการเมือง อันนำไปสู่พฤติกรรมในปกป้องรักษาสิทธิบางอย่างได้ภายใต้ภาพลักษณ์เชิงด้วยศักยภาพของคำว่า “ชาวบ้าน
บรรณานุกรม:
จารุวรรณ แก้วมะโน. (2551). การเมืองน้ำท่วมปาก: วาทกรรม “ชาวบ้าน” กับการจำกัดตนเองในการมีส่วน ร่วมทางการเมือง. วารสารสังคมศาสตร์, 39(2), 340-356.
แหล่งที่มา: http://www.library.polsci.chula.ac.th/dl/232fdc22828a3a3c0e81c0fe3b651709
สาระสังเขป:
บทความเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ระบบความคิดพื้นฐานของการให้ความหมายต่อพื้นที่ชุมชนสามาแพร่งที่มีความแตกต่างกันระหว่างสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ในฐานเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินและอาคาร และผู้เช่า ท้ายบทความนำเสนอ “แพร่งโมเดล”
บรรณานุกรม:
พรรณลดา โพธิ์ทองแสงอรุณ. (2557). สามแพร่งกับการฟื้นฟูชุมชน : ปฏิบัติการทางวาทกรรมเพื่อการอยู่ ร่วมกันผ่านทุนทางวัฒนธรรม. วารสารภาษาและวัฒนธรรม, 33(2), 21-44.
แหล่งที่มา:
https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLC/article/download/24748/21055/
ชื่อหนังสือ:
วาทกรรมชาตินิยมของรัฐบาลไทย ตั้งแต่ พ.ศ.2475 ถึง 2550
สาระสังเขป:
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์วาทกรรมชาตินิยมของรัฐบาลไทยผ่ายคำแถลงนโยบายในช่วง พ.ศ.2475 ถึง พ.ศ. 2550 โดยวิธีการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพตามแนวคิดวาทกรรมเชิงวิพากษ์
บรรณานุกรม:
พิมพาภรณ์ บุญประเสริฐ. (2554). วาทกรรมชาตินิยมของรัฐบาลไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2475 ถึง พ.ศ.2550. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
แหล่งที่มา: http://frc.forest.ku.ac.th/frcdatabase/bulletin/kuconfer/49/Oral/08_041_O338.pdf
สาระสังเขป:
บทความนี้ได้นำเสนอเกี่ยวกับการวิเคราะห์วาทกรรม ชุมชนในวาทกรรมการพัฒนาของรัฐ ชุมชนในวาทกรรมทวนกระแส
บรรณานุกรม:
ณฐพงศ์ จิตรนิรัตน์. (2546). ชุมชนในวาทกรรมการพัฒนา. วารสารปาริชาติ, 15(2). 74-82.
แหล่งที่มา: https://so05.tci-thaijo.org/index.php/parichartjournal/article/view/69948/56811
สาระสังเขป:
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจขบวนการคัดค้านโครงการท่าเรือในอำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ทั้งในด้านการประกอบสร้างของขบวนการ และวาทกรรมและปฏิบัติการทางวาทกรรมที่ขบวนการใช้
บรรณานุกรม:
กรองกาญจน์ การเนตร. (2557). วาทกรรมของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม : ศึกษากรณีขบวนการ คัดค้านโครงการท่าเรือ อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช. สาขาวิชาพัฒนามนุษย์และ สังคม (สหสาขาวิชา) บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
แหล่งที่มา: http://cuir.car.chula.ac.th/bitstream/123456789/46504/1/5487101920.pdf
สาระสังเขป:
งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาบทบาทของภาษาในการสร้างอุดมการณ์และวาทกรรมบุญนิยม ให้เกิดขึ้นในกลุ่มของชาวชุมชนราชธานีอโศก และศึกษานิจภาพของชาวชุมชนที่ทำให้เกิดภาคปฏิบัติการจริงของวาทกรรม “บุญนิยม”
บรรณานุกรม:
บุญทิวา พ่วงกลัด. (2554). วาทกรรม “บุญนิยม” : กรณีศึกษาชุมชนราชธานีอโศก จังหวัดอุบลราชธานี. หลักสูตรปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิขาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย อุบลราชธานี.
แหล่งที่มา:
http://www.esanpedia.oar.ubu.ac.th/e-research/sites/default/files/Boonthiwa_Pau.pdf