Fri. May 17th, 2024

    ชื่อวิทยานิพนธ์: การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการรวมตัวเป็นพันธมิตรชั่วคราวของนักการเมืองท้องถิ่น: ศึกษากรณีสมาชิกสภาจังหวัดนครศรีธรรมราช

    สาระสังเขป:

              วิทยานิพนธ์เล่มนี้รวบรวมความรู้เกี่ยวกับการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการรวมตัวเป็นพันธมิตรชั่วคราวของนักการเมืองท้องถิ่น: ศึกษากรณีสมาชิกสภาจังหวัดนครศรีธรรมราช ผลการศึกษาชี้ว่า ตัวแปรที่ศึกษาคือ ความเข้มข้นของความพึงพอใจที่แตกต่างกัน กลยุทธ์ในการต่อรองทำข้อตกลง การทดแทน และความสิ้นเปลืองของการทดแทนไม่ใช่ตัวกำหนดการเข้าร่วมเป็นพันธมิตรชั่วคราวของสมาชิกสภาจังหวัด แต่อย่างไรก็ตามข้อมูลได้ชี้ให้เห็นว่า ความเข้มแข็งความพึงพอใจที่แตกต่างกันน่าจะยังคงเป็นตัวแปรที่สำคัญในบรรดาตัวแปรหลายๆ ตัว

    บรรณานุกรม:

              จำนงค์ แรกพินิจ. (2531). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการรวมตัวเป็นพันธมิตรชั่วคราวของนักการเมือง  ท้องถิ่น: ศึกษากรณีสมาชิกสภาจังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา          มหาบัณฑิต คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

    แหล่งที่มา:

              https://sites.google.com/a/life.ac.th/lifelcd59/chamnong

    ชื่อวิทยานิพนธ์: การศึกษาสภาวะทางภูมิศาสตร์ที่ส่งผลต่อสภาพความเป็นอยู่ของประชาชนบริเวณพื้นที่ระหว่างทะเลน้อยและทะเลสาบสงขลา

    สาระสังเขป:

              วิทยานิพนธ์เล่มนี้รวบรวมความรู้เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ ด้านภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ภูมิรัฐและภูมินิเวศน์บริเวณพื้นที่รอบทะเลน้อย และสภาพการปรับตัวทางเศรษฐกิจและสังคมของการรวมกลุ่มเพื่อการผลิตในชุมชนรอบทะเลน้อย

    บรรณานุกรม:

    ประมาณ เทพสงเคราะห์, จำนงค์ แรกพินิจ. (2540). การศึกษาสภาวะทางภูมิศาสตร์ที่ส่งผลต่อสภาพความ       เป็นอยู่ของประชาชนบริเวณพื้นที่ระหว่างทะเลน้อยและทะเลสาบสงขลา. มหาวิทยาลัยศรีนคริ   ทร์วิโรฒ ภาคใต้.

    แหล่งที่มา:

              https://sites.google.com/a/life.ac.th/lifelcd59/chamnong

    ชื่อวิจัย: แชร์แรงงาน ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของชาวบ้านภาคใต้         

    สาระสังเขป:

              วิจัยเล่มนี้รวบรวมความรู้เกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนทางสังคม เป็นปรากฏการณ์ทางสังคมอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นในชุมชนทั่วไป และเป็นรากฐานของความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของชาวบ้านในชุมชน วิจัยชิ้นที่ได้ทำการศึกษาการแลกเปลี่ยนแรงงานของชาวบ้านในชุมชนภาคใต้ ภายใต้แนวคิดและทฤษฎีแลกเปลี่ยนทางสังคม เครือข่ายทางสังคม และการตีความทางประวัติศาสตร์

    บรรณานุกรม:

    จำนงค์ แรกพินิจ. (2537). แชร์แรงงาน ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของชาวบ้านภาคใต้. สถาบันทักษิณคดีศึกษา.

    แหล่งที่มา:

              https://sites.google.com/a/life.ac.th/lifelcd59/chamnong

    ชื่อบทความ:     บทบาทนักศึกษากับกระบวนการประชาธิปไตย         

    สาระสังเขป:

              บทความนี้รวบรวบความรู้เกี่ยวกับบทบาทนักศึกษากับกระบวนการประชาธิปไตย จากการสัมมนาระดมความคิดของนิสิตนักศึกษา ๘ สถาบันในจังหวัดภาคใต้ และวิทยากรผู้มีความรู้และประสบการณ์จริงในชีวิตที่เกี่ยวพันกับการเรียกร้องและเกี่ยวพันกับขบวนการประชาธิปไตย

    บรรณานุกรม:

    จำนงค์ แรกพินิจ. (ม.ป.ป.). บทบาทนักศึกษากับกระบวนการประชาธิปไตย. ค้นเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2564,       จาก https://sites.google.com/a/life.ac.th/lifelcd59/chamnong

    แหล่งที่มา:          https://sites.google.com/a/life.ac.th/lifelcd59/chamnong

    ชื่อบทความ:     ป่าพรุ นากระจูด และคน         

    สาระสังเขป:

              บทความนี้รวบรวบความรู้เกี่ยวกับป่าพรุ ทะเลน้อยเป็นส่วนหนึ่งของทะเลสาบสงขลา ตั้งอยู่ในเขตตำบลทะเลน้อย อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ซึ่งอยู่ตอนบนของทะเลสาบนี้ บริเวณนี้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ขึ้นชื่อของจังหวัด เพราะธรรมชาติในทะเลน้อยยังคงมีความสมบูรณ์ทั้งพรรณพืชที่หลากหลาย และนกน้ำนานาชนิด ป่าพรุ นากระจูด และคน ที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยง ในแง่คุณค่าความงาม และไม่เห็นแก่ตัว

    บรรณานุกรม:

    จำนงค์ แรกพินิจ. (ม.ป.ป.). ป่าพรุ นากระจูด และคน. ค้นเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2564,   จาก           https://sites.google.com/a/life.ac.th/lifelcd59/chamnong

    แหล่งที่มา:

              https://sites.google.com/a/life.ac.th/lifelcd59/chamnong

    ชื่อบทความ:     ภูมิปัญญาชาวบ้านเพื่อการพัฒนาชุมชนและสังคมไทย         

    สาระสังเขป:

              บทความนี้รวบรวบความรู้เกี่ยวกับแนวคิดสองกระแส การครอบงำด้วยวัฒนธรรมตะวันตก ซึ่งมีวิธีคิดแบบแยกส่วน เน้นการเติบทางเศรษฐกิจระดับมหภาค กับกระแสชุมชนท้องถิ่น ที่ให้ความสำคัญกับคนและชุมชนในการกำหนดแนวทางการดำเนินชีวิตที่สอดคล้องกับสังคมวัฒนธรรมของตน แผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับที่ ๙ มุ่งสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนและเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาชี้นำการพัฒนาประเทศ และ   พัฒนาการของภูมิปัญญาชาวบ้าน

    บรรณานุกรม:

    จำนงค์ แรกพินิจ. (ม.ป.ป.). ภูมิปัญญาชาวบ้านเพื่อการพัฒนาชุมชนและสังคมไทย. ค้นเมื่อ 16 กุมภาพันธ์       2564,   จาก https://sites.google.com/a/life.ac.th/lifelcd59/chamnong

    แหล่งที่มา:

              https://sites.google.com/a/life.ac.th/lifelcd59/chamnong

    ชื่อบทความ:     มหาวิทยาลัยชาวบ้าน : สถาบันที่เรียนรู้เพื่อการพึ่งตนเอง  

    สาระสังเขป:

              บทความนี้รวบรวบความรู้เกี่ยวกับปรากฏการณ์การวิพากษ์และวิจารณ์ระบบการศึกษาของไทย ทางออกและข้อเสนอแนะต่อการจัดการศึกษาและคืนการศึกษาให้แก่ชุมชน รวมถึงปฏิกิริยาของการเปิดตัวมหาวิทยาลัยชาวบ้านที่ ตำบลคลองเปีย การเรียนรู้เพื่อการพึ่งตนเอง และชุมชนใหม่เพื่อสังคมใหม่

    บรรณานุกรม:

    จำนงค์ แรกพินิจ. (ม.ป.ป.). มหาวิทยาลัยชาวบ้าน : สถาบันที่เรียนรู้เพื่อการพึ่งตนเอง. ค้นเมื่อ 16      กุมภาพันธ์ 2564, จาก https://sites.google.com/a/life.ac.th/lifelcd59/chamnong

    แหล่งที่มา:

              https://sites.google.com/a/life.ac.th/lifelcd59/chamnong

    ชื่อวิจัย: รายงานการวิจัยวัฒนธรรมกับการพัฒนา: ศึกษากรณีองค์กรชาวบ้านบริเวณลุ่มน้ำปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช         

    สาระสังเขป:

              งานวิจัยเล่มนี้รวบรวมความรู้เกี่ยวกับ  วัฒนธรรมกับการพัฒนา: ศึกษากรณีองค์กรชาวบ้านบริเวณลุ่มน้ำปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ผลการวิจัยเป็นข้อมูลสำคัญส่วนหนึ่งที่ประมวลให้เห็นการพัฒนาขององค์กรอีกแนวหนึ่งที่เน้น “กระบวนการเรียนรู้ในการพัฒนาและการพัฒนาเชื่อมโยง และเป็นเครือข่าย” ที่อยู่บนพื้นฐานของการปรับใช้วัฒนธรรมชุมชน

    บรรณานุกรม:

    ดุสิต รักษ์ทอง จำนงค์ แรกพินิจ และชัยวุฒิ พิยะกูล. (2544). รายงานการวิจัยวัฒนธรรมกับการพัฒนา:          ศึกษากรณีองค์กรชาวบ้านบริเวณลุ่มน้ำปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช. สำนักงาน   คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ.

    แหล่งที่มา:

              https://sites.google.com/a/life.ac.th/lifelcd59/chamnong

    ชื่อหนังสือ: ภูมิปัญญาท้องถิ่น

    สาระสังเขป: เอกสารฉบับนี้รวบรวมความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เป็นแนวคิดและแนวทางสำคัญในการพัฒนาชุมชน และเป็นพื้นฐานในการดำเนินงานด้านการพัฒนาประเทศในทุกด้าน มีการประยุกต์หรือปรับใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในรูปแบบที่หลากหลายเพื่อให้สอดคล้องกับพื้นฐานของแต่ละพื้นที่

    บรรณานุกรม: จำนงค์ แรกพินิจ. (2563). ภูมิปัญญาท้องถิ่น. สมุทรสงคราม : คณะศิลปศาสตร์ สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน

    แหล่งที่มา: สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน

    ชื่อหนังสือ: เศรษฐกิจพอเพียง

    สาระสังเขป: เอกสารฉบับนี้รวบรวมความรู้เกี่ยวกับความสำคัญของเศรษฐกิจพอเพียง ระบบการเงินชุมชนแบบพอเพียง กรณีศึกษากองทุนการเงินชุมชน วิเคราะห์ระบบการเงินชุมชนภายใต้บริบทของเศรษฐกิจพอเพียง การอุ้มชูตนเอง เป้าหมายของกองทุนการเงินชุมชน ชุมชนคือรากฐาน ฯลฯ

    บรรณานุกรม: จำนงค์ แรกพินิจ และคนอื่น. (2550). เศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ : เจริญวิทย์การพิมพ์.

    แหล่งที่มา: สถาบันส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน.

    ชื่อหนังสือ: คู่มือพัฒนาผู้ประกอบการชุมชน

    สาระสังเขป: คู่มือฉบับนี้ ได้จัดทำวัตถุประสงค์ กรอบแนวคิดและสาระสำคัญของการเรียนรู้ในแต่บทเรียน และสร้างตารางให้เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้โดยให้นักศึกษาทดลองวิเคราะห์และบันทึกผลการเรียนรู้ลงในคู่มือฉบับนี้

    บรรณานุกรม: จำนงค์ แรกพินิจ. (2563). คู่มือพัฒนาผู้ประกอบการชุมชน. สมุทรสงคราม : คณะศิลปศาสตร์ สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน

    แหล่งที่มา: สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน