Thu. Nov 7th, 2024

    วิชา การผลิตสื่ออีเลิร์นนิงเพื่อการศึกษา

    ความหมาย ประเภท การนำไปใช้ องค์ประกอบของสื่ออิเล็กทรอนิกส์

    โดย : อาจารย์ ดร.ธีรวดี ถังคบุตร คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    เรื่องที่ 1 สื่อสำหรับอีเลิร์นนิงเพื่อการศึกษา .

              คอมพิวเตอร์อินเทอร์เน็ต ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศช่วยมนุษย์ในการดํารงชีวิต การเรียน และการทํางาน ให้มีความสะดวกรวดเร็ว ยุคของสังคมแห่งการเรียนรู้ (Knowledge Society) เทคโนโลยีต่างๆจึงเป็นส่วนสําคัญในการเรียนการสอนและช่วยให้มนุษย์เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต(Life-Long Learning) และการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 กระบวนการเรียนรู้เป็นแบบเน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ (Student – centered) ผู้สอนเป็นเพียงผู้เอื้อให้เกิดการเรียนรู้ การเรียนรู้เป็นแบบสร้างประสบการณ์ โดยเน้นให้ผู้เรียนค้นคว้าหาองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง(Learning by discovery) เป็นการศึกษาที่ผู้เรียนจะสามารถเรียนรู้ว่า จะเรียนรู้ได้ด้วยตนเองต่อไปอย่างไร(Learning how to learn) จึงจําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องนําเทคโนโลยีต่างๆมาปรับใช้กับการเรียนการสอน โดยผู้เรียนจะต้องเข้าถึงได้ง่านทุกที่ทุกเวลา ในยุคปัจจุบันอีเลิร์นนิ่งจึงเป็นรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่ตอบสอนต่อการเรียนการสอนในยุคใหม่

    1. ความหมายของ E-Learning 

               การเรียนรู้แบบออนไลน์แห่ง สวทช. ได้ให้คํานิยามไว้ว่า E-Learning หมายถึงการศึกษาเรียนรู้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์อินเทอร์เน็ต หรืออินทราเน็ต เป็นการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ผู้เรียนจะได้เรียนตามความสามารถและความสนใจของตน โดยเนื้อหาของบทเรียนซึ่งประกอบด้วย ข้อความ รูปภาพ เสียง วิดีโอและมัลติมีเดียอื่นๆ จะถูกส่งไปยังผู้เรียนผ่าน Web Browser โดยผู้เรียน ผู้สอน และเพื่อนร่วมชั้นเรียนทุกคน สามารถติดต่อ ปรึกษา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันได้เช่นเดียวกับการเรียนในชั้นเรียนปกติ โดยอาศัยเครื่องมือการติดต่อสื่อสารที่ทันสมัย (e-mail, web-board, chat) จึงเป็นการเรียนสําหรับทุกคน เรียนได้ทุกเวลา และทุกสถานที่ (Learning for all : anyone, anywhere and anytime)ถนอมพร เลาหจรัสแสง กล่าวถึงความหมายของ E-Learning ว่าสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะด้วยกัน ได้แก่ความหมายโดยทั่วไปและความหมายเฉพาะเจาะจง

              ความหมายโดยทั่วไปจะครอบคลุมความหมายที่กว้าง กล่าวคือ จะหมายถึง การเรียนในลักษณะใดก็ได้ซึ่งใช้ การถ่ายทอด เนื้อหาผ่านทางอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซ์ทราเน็ต หรือทางสัญญาณโทรทัศน์หรือสัญญาณดาวเทียม (satellite) ก็ได้ ซึ่งเนื้อหาสารสนเทศอาจอยู่ในรูปแบบการเรียนที่เราคุ้นเคยกันมาพอสมควร เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer-Assisted Instruction) การสอนบนเว็บ (Web-Based Instruction) การเรียนออนไลน์(Online Learning) การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม หรืออาจอยู่ในลักษณะที่ยังไม่ค่อยเป็นที่แพร่หลายนัก เช่น การเรียนจากวีดิทัศน์ตามอัธยาศัย (Video On Demand) เป็นต้น

               ในความหมายเฉพาะเจาะจงนั้น E-Learning หมายถึง การเรียนเนื้อหาหรือสารสนเทศสําหรับการสอนหรือการอบรม ซึ่งใช้การนําเสนอด้วยตัวอักษรภาพนิ่ง ผสมผสานกับการใช้ภาพเคลื่อนไหว วิดีทัศน์และเสียงโดยอาศัยเทคโนโลยีของเว็บ (web technology) ในการถ่ายทอดเนื้อหา รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีระบบการจัดการคอร์ส (Course Management System) ในการบริหารจัดการงานสอนด้านต่าง ๆ เช่น การจัดให้มีเครื่องมือการสื่อสารต่าง ๆ เช่น E-mail, web board สําหรับตั้งคําถาม หรือแลกเปลี่ยนแนวคิดระหว่างผู้เรียนด้วยกัน หรือวิทยากร การจัดให้มีแบบทดสอบหลังจากเรียนจบเพื่อวัดผลการเรียน รวมทั้งการจัดให้มีระบบบันทึกติดตามตรวจสอบ และประเมินผลการเรียน โดยผู้เรียนที่เรียนจาก E-Learning นี้ ส่วนใหญ่แล้วจะศึกษาเนื้อหาในลักษณะออนไลน์ ซึ่งหมายถึงจากเครื่องมือที่มีการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

               สรุปได้ว่า E-Learning ว่าเป็นการจัดการเรียนการสอนบนระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต หรืออินทราเน็ต หรือ เป็นการเรียนการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่อยู่บนระบบเครือข่าย ซึ่งการเรียนในรูปแบบนี้ผู้เรียนจะเรียนเนื้อหาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ซีดี โดยเนื้อหาบทเรียนซึ่งประกอบด้วยข้อความ รูปภาพ เสียง วีดิทัศน์และมัลติมีเดียอื่น ๆ การเรียนเป็นอีเลิร์นนิ่งนี้คล้ายกับการเรียนในห้องเรียนปกติ ประกอบด้วย เนื้อหาบทเรียน เนื้อหาสาระที่นําเสนอในรูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์ระบบการจัดการเรียนการสอน เครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร การเรียนบนระบบเครือข่ายผู้เรียนสามารถติดต่อกับผู้สอน และเพื่อนเพื่อปรึกษา และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้คล้ายกับการเรียนในชั้นเรียนปกติโดยอาศัยเครื่องมือในการสื่อสารและโปรแกรมติดต่อสื่อสารต่างๆ และระบบการประเมินการเรียนแบบอีเลิร์นนิ่งเป็นการเรียนรู้ด้วยตัวเอง การเรียนรูปแบบนี้ผู้เรียนจะได้เรียนตามความสามารถและความสนใจของตนเอง

    2. การนำ E-learning ไปใช้ในการเรียนการสอน
    การนํา E-learning ไปใช้ในการเรียนการสอน สามารถทําได้ 3 ลักษณะ ดังนี้

               1. สื่อเสริม (Supplementary) หมายถึง การนํา E-learning ไปใช้ลักษณะสื่อเสริม เนื้อหาที่ปรากฏในลักษณะE-learning แล้วผู้เรียนยังสามารถศึกษาเนื้อหาเดียวกันนี้ในลักษณะอื่นๆ เช่นจากเอกสารประกอบการสอนจากวีดีทัศน์ ฯลฯ การใช้ E-learning ในลักษณะนี้เท่ากับว่าผู้สอนเพียงแต่ต้องการ จัดหาทางเลือกใหม่อีกทางหนึ่งสําหรับผู้เรียนในการเข้าถึงเนื้อหา เพื่อให้ประสบการณ์พิเศษเพิ่มเติมแก่เรียนท่านั้น

                2. สื่อเติม (Complementary) หมายถึงการนํา E-learning ไปใช้ในลักษณะเพิ่มเติมจากวิธีการสอนในลักษณะอื่นๆ เช่นนอกจากการบรรยายในห้องเรียนแล้วผู้สอนยังออกแบบเนื้อหาเพิ่มเติมจาก E-learning

                3. สื่อเสริม (Comprehensive Replacement) หมายถึง การนํา E-learning ไปใช้ในลักษณะแทนที่การบรรยายในห้องเรียนผู้เรียนจะต้องศึกษาเนื้อหาออนไลน์ ในปัจจุบัน

    3. สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic media)
                ความหมายของสื่ออิเล็กทรอนิกส์คือ สื่อที่อาศัยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรือไฟฟ้าในการที่ผู้ใช้เข้าถึงเนื้อหา สื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นสื่อที่ตรงกันข้ามกับสื่อคงที่ (ส่วนใหญ่เป็นสื่อสิ่งพิมพ์) ในปัจจุบันสื่อเหล่านี้ถูกสร้างขึ้นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แต่สื่อเหล่านี้ไม่จําเป็นต้องมีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในการเข้าถึงสื่ออิเล็กทรอนิกส์หลักที่ใช้กันทั่วไป คือ การบันทึกวิดีโอ บันทึกเสียง การนําเสนอมัลติมีเดีย การนําเสนอด้วยสไลด์CD-ROM และเนื้อหาออนไลน์ สื่อรูปแบบใหม่ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปแบบของสื่อดิจิตอล อย่างไรก็ตามสื่ออิเล็กทรอนิกส์อาจจะอยู่ในรูปแบบสื่อแบบอนาล็อกหรือรูปแบบสื่อดิจิตอลอิเล็กทรอนิกส์องค์ประกอบที่ต้องคํานึงถึงในการพัฒนาของอีเลิร์นนิ่ง เพื่อให้สามารถถ่ายทอดความรู้ไปยังผู้เรียนได้อย่างมีและประสิทธิผลนั้นต้องคํานึงถึงองค์ประกอบต่อไปนี้คือ

    1.  จุดประสงค์การเรียนรู้
    2.  วิธีการสอน
    3.  สื่อที่ใช้ในการถ่ายทอดเนื้อหา
    4.  ลักษณะการมีปฎิสัมพันธ์
    5.  คุณสมบัติผู้เรียน
    6.  คุณสมบัติผู้สอน
    7.  ประสิทธิภาพของเครือข่ายสารสนเทศ
    8.  ระบบบริหารจัดการเรียนการสอน
    9.  นโยบายและงบประมาณ

    สื่อที่ใช้ในการถ่ายทอดเนื้อหา ได้แก่

    • คอมพิวเตอร์ช่วยสอน CAI

                     CAI ย่อมาจากคําว่า COMPUTER-ASSISTED หมายถึง สื่อการเรียนการสอนทางคอมพิวเตอร์รูปแบบหนึ่ง ซึ่งใช้ความสามารถของคอมพิวเตอร์ในการนําเสนอสื่อประสม ได้แก้ ข้อความ ภาพนิ่ง กราฟิก แผนภูมิ กราฟ วีดีทัศน์ ภาพเคลื่อนไหวและเสียง

    • WBI (Web-based Instruction)

                     WBI คือ บทเรียนที่สร้างขึ้นสําหรับการเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยนําจุดเด่นของวิธีการให้บริการข้อมูลแบบ www มาประยุกต์ใช้ Web Base Instructionจึงเป็นบทเรียนประเภท CAI แบบ On-line ในที่นี้หมายความว่า ผู้เรียนเรียนอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ที่ติดต่อผ่านเครือ กับเครื่องแม่ข่ายที่บรรจุบทเรียน

    • การเรียนอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Learning

           การเรียนอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Learning เป็นการศึกษาเรียนรู้ ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต หรืออินทราเน็ตเป็นการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ผู้เรียนจะได้เรียนตามความสามารถและความสนใจของตนโดยเนื้อหา ของบทเรียนซึ่งประกอบด้วย ข้อความ รูปภาพ เสียง วีดีโอ มัลติมีเดียอื่นๆ

    • E-book

        E-book เป็นคําภาต่างประเทศ ย่อมาจากคําว่า electronic book หมาย ถึง หนังสือที่สร้างขึ้นด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์มีลักษณะเป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์โดยปกติมักจะเป็นแฟ้มข้อมูลที่สามารถอ่านเอกสารทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ทั้งในระบบออฟไลน์และออนไลน์

    • E-Training

             E-Training หมายถึง กระบวนการการฝึกอบรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นกระบวนการจัดการ
    ฝึกทักษะเพิ่มพูนสาระความรู้ ที่เน้นให้ผู้เข้ารับการอบรมนั้นเรียนรู้ด้วยตนเอง ผู้เข้าอบรมมีอิสระในการเข้าศึกษา เรียนรู้ตามเวลา โอกาสที่ผู้ฝึกอบรมต้องการโดยเนื้อหาขององค์ความรู้จะถูกออกแบบมาให้ศึกษา เรียนรู้ได้โดยง่าย ในรูปแบบมัลติมีเดียซึ่งประกอบด้วยสื่อที่เป็นข้อความรูป หรืออาจมี ภาพเคลื่อนไหว

    • Learning Object

           Learning Object หมายถึง การจัดรูปแบบสาระการเรียนรู้เป็นหน่วยที่เป็นอิสระใช้เวลาสําหรับการเรียนรู้ เป็นช่วงสั้นๆ ประมาณ 2 ถึง 15 นาที และถึงแม้ ว่าจะเป็นการเรียนรู้แบบหน่วยย่อยก็ตาม Learning Object จะมีความสมบรูณ์ในตัวเอง ซึ่งในแต่ละเนื้อหาจะประกอบชื่อเรื่อง คําอธิบาย คําสําคัญ วัตถุประสงค์ การเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ และการประเมินผล ประการหนึ่งคือ ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง

    • Instructional System Technology : IST

      เรียกในภาษาไทยว่า เทคโนโลยีระบบการสอน เป็นชื่อสาขาวิชาทางด้านเทคโนโลยีการศึกษาในหลายมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง ในต่างประเทศ เช่น มหาวิทยาลัยอินเดียน่า วิทยาเขตบลูมมิงตัน ที่มีอาจารย์ระดับ ปริญญาเอกที่มีชื่อในประเทศไทยหลายท่านจบจากที่นี่ การเรียนการสอนเน้นการออกแบบ วิจัยและพัฒนาระบบการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ

    • Intelligence Computer-Assisted Instruction : ICAI

          คอมพิวเตอร์ช่วยสอนอัจฉริยะ เป็นแนวคิดสูงสุดของนักเทคโนโลยีการศึกษาที่เชื่อว่า เมื่อพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไปจนสามารถทําให้คอมพิวเตอร์ฉลาดได้เหมือน กับคนและตอบสนองต่อการเรียนรู้ได้ดังใจปรารถนา เหมือนกับมีครูผู้เชี่ยวชาญมาสอน บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนก็จะเป็นคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบอัจฉริยะ ซึ่งก็ยังไปไม่ถึงในปัจจุบัน

    • IMCAI : Interactive Multimedia Computer-Assisted Instruction

           เป็นอีกแนวคิดหนึ่งของนักเทคโนโลยีการศึกษา ที่เมื่อมองเห็นว่าคอมพิวเตอร์ช่วยสอนยังไปไม่ถึงระดับอัจฉริยะก็มองว่าความเป็นมัลติมีเดียของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนก็มีศักยภาพเพียงพอสําหรับช่วยให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ ก็เป็นอีกแนวคิดหนึ่งที่ได้รับการยอมรับ 

    4. ประเภทของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ส าหรับอีเลิร์นนิง

        บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สื่อการเรียนการสอนทางคอมพิวเตอร์รูปแบบหนึ่ง ซึ่งใช้ความสามารถของคอมพิวเตอร์ในการนําเสนอสื่อประสม ได้แก้ ข้อความ ภาพนิ่ง กราฟิก แผนภูมิ กราฟ วีดีทัศน์เพื่อถ่ายทอดเนื้อหาบทเรียนหรือองค์ความรู้ในลักษณะที่ใกล้เคียงกับการสอนจริงในห้องเรียนมากที่สุดซึ่งสามารถเรียนได้ทั้งบนเว็บและซีดีรอม

          1. สไลด์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นสื่อที่พัฒนาด้วยโปรแกรมบนวินโดว์ และให้เรียกดูผ่านเว็บ หรือแปลงเป็นแฟ้มที่ดูได้บนเว็บ นิยมใช้โปรแกรม Microsoft PowerPoint ในการพัฒนาสื่อลักษณะนี้

          2. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เป็น สื่อที่มีรูปเล่มและองค์ประกอบของเล่มหนังสือครบถ้วน เป็นสื่อที่นิยมจัดทําให้อยู่ในรูปของแฟ้มในสกุล Pdf และใช้โปรแกรม Acrobat Reader ของ Adobe ในการอ่าน

          3. แผ่นใสอิเล็กทรอนิกส์ เป็น การจัดทําสื่อที่อยู่ในรูปแผ่นใส หรือเอกสารประกอบการสอนอื่นๆ ให้เป็น
    แฟ้มที่อยู่ในสกุล pdf โดยการสแกนหรือการเปลี่ยนแปลงรูปแบบแฟ้มเอกสาร

          4. เอกสารคําสอนอิเล็กทรอนิกส์ (Iecture Note) อาจจัดทําให้อยู่ในรูปเอกสารในสกุล doc หรือ pdf หรือ html และเรียกดูด้วยโปรแกรมที่ใช้เรียกดูแฟ้มสกุลนั้นๆ

            5. เทปเสียงคําสอนดิจิตอล จัดทําโดยใช้เทคโนโลยี RealAudio เพื่อให้เรียกฟังเสียงในลักษณะรับฟังได้ ในทันทีไม่ต้องเสียเวลาในการรอการถ่ายโอนแฟ้มนาน

           6. วิดีโอเทปดิจิตอล จัดทําโดยใช้เทคโนโลยี RealVideo เพื่อให้เรียกภาพวิดีโอในลักษณะรับชมได้ทันทีไม่ต้องเสียเวลาในการรอการถ่ายโอนแฟ้มนาน

       7. เอกสารไฮเปอร์เท็กซ์และไฮเปอร์มีเดีย เป็นสื่อที่จัดทําโดยใช้ภาษา HTML หรือโปรแกรมช่วยสร้างเว็บเพจทั้งที่จัดทําเองและผู้อื่นจัดทํา แล้วเชื่อมโยงไปยังแหล่งนั้นแหล่งรวมโฮมเพจรายวิชาในเว็บแหล่งหนึ่งที่รวบรวมโฮมเพจรายวิชาจากที่ต่างๆ ทั่วโลก

              ลักษณะสําคัญของ E-learning จากเว็บของ บุญอินทร์ วิลัยเกษม เรื่อง E-learning ไว้ดังนี้

    1.   Anywhere, Anytime and Anybody คือ ผู้เรียนจะเป็นใครก็ได้ มาจากที่ใดก็ได้ และเรียนเวลาใดก็
      ได้ตามความต้องการของผู้เรียน
    2. Multimedia สื่อที่นําเสนอในเว็บ ประกอบด้วยข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียง ตลอดจน
      วีดิทัศน์ อันจะช่วยกระตุ้นการเรียนรู้ของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี  
    3. Non-Linear ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนเนื้อหาที่นําเสนอได้ตามความต้องการ
    4. Interactive ด้วยความสามารถของเอกสารเว็บที่มีจุดเชื่อม (Links) ย่อมทําให้เนื้อหาม
    5. ลักษณะโต้ตอบกับผู้ใช้โดยอัตโนมัติ และผู้เรียนติดต่อกับวิทยากรผ่านระบบเมล์Msn และสมุดเยี่ยม
      ทําให้ผู้เรียนกับวิทยากรสามารถติดต่อกันได้อย่างรวดเร็ว

    5. องค์ประกอบของสื่ออิเล็กทรอนิกส์

    • ตัวอักษร
      เป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่สําคัญของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ตัวอักษรเป็นการให้เนื้อหา ความรู้ ให้การออกแบบจะเลือกชนิด สีของตัวอักษร และขนาดของตัวอักษรให้เหมาะสม
    • เสียง
      เสียงจัดอยู่ในรูปข้อมูลดิจิตอล และสามารถเล่นซ้ําได้จากเครื่องคอมพิวเตอร์พีซี การใช้เสียงในการนําเสนอข้อมูล หรือสร้างสภาพแวดล้อมให้น่าสนใจขึ้น เช่น เสียงดนตรี เป็นต้น เสียงช่วยให้สื่อน่าสนใจมากขึ้นโดยบันทึกในรูปของดิจิตอลจากไมโครโฟน แผ่นซีดีเสียง เทปเสียง และวิทยุได
    • ภาพนิ่ง
      เป็นภาพกราฟิกที่ไม่มีการเคลื่อนไหว เช่น ภายถ่าย ภาพวาด หรือภาพที่สร้างจากโปรแกรมประยุกต์(Application) เป็นต้น ภาพนิ่งมีบทบาทต่อสื่ออิเล็กทรอนิกส์มาก เนื่องการภาพสามารถบรรยายได้ดีกว่าการบรรยายด้วยตัวอักษร

    • ภาพเคลื่อนไหว
      ภาพเคลื่อนไหว (Animation) คือ ภาพเคลื่อนไหวที่สร้างขึ้นโดยการนําภาพนิ่งหลาย ๆ ภาพมาฉายต่อเนื่องกันด้วยความเร็วสูง ทําให้เกิดภาพลวงตาของการเคลื่อนไหว โดยปกติความเร็วของภาพเคลื่อนไหวจะฉายด้วยความเร็วที่ต่างกันขึ้นอยู่กับ ชนิดของการแสดงผล (output) ประเภทของภาพเคลื่อนไหว แบ่งได้ 2 ประเภท คือ

                  1. 2D Animation คือ ภาพเคลื่อนไหวแบบ 2 มิติ มองเห็นได้ทั้งความสูงและความกว้าง ซึ่งจะมีความเหมือนจริงพอสมควรและการสร้างจะไม่สลับซับซ้อนมากนัก เช่น ภาพเคลื่อนไหวที่ปรากฏตามเว็บต่างๆ รวมทั้ง Gif Animation
              2. 3D Animation คือ ภาพเคลื่อนไหวแบบ 3 มิติ มองเห็นได้ทั้งความสูง ความกว้าง และความลึก ภาพ ที่เห็นจะมีความสมจริงมากที่สุด

    • วีดิทัศน์
      การบันทึกภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียงลงในแหล่งบันทึกข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ด้วยระบบ แอนาล็อค(Analog) หรือระบบดิจิตอล(Digital)โดยสามารถถ่ายทอดภาพและเสียงทีบันทึกออกมาผ่านเครื่องรับโทรทัศน์หรือคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ปัจจุบันภาพวีดีทัศน์ถูกจัดเก็บในรูปของดิจิตอล หรือเรียกว่า ดิจิตอลวีดีโอ (Digital Video) โดยคุณภาพของดิจิตอลวีดิโอจะทัดเทียมกับภาพที่เห็นจากจอโทรทัศน