Sun. Dec 22nd, 2024
    IMG_5132 (Small)

    ประวัติสำนักหอสมุดและสารสนเทศ

                สำนักหอสมุดและสารสนเทศ ตั้งอยู่ที่อาคารหอสมุดวิบูลย์ เข็มเฉลิม (เพื่อเป็นที่ระลึกแก่ นายวิบูลย์ เข็มเฉลิม) มีเนื้อที่ 886.2 ตารางเมตร เปิดให้บริการแก่นักศึกษา และชุมชนอย่างเป็นทางการเมื่อเดือน มิถุนายน พ.ศ. 2555

              สำนักหอสมุดและสารสนเทศ มุ่งสร้างสรรค์บทบาทเพื่อตอบสนองเจตนารมณ์ของสถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน ด้วยการพัฒนาระบบ “ดิจิทัล” ให้เป็นกลไกเชื่อมโยงเครือข่ายการเรียนรู้ ระหว่างนักศึกษาของสถาบันใน ศูนย์บริการการศึกษาเครือข่าย  ซึ่งสังกัด ศูนย์บริการการศึกษา(ศบศ.) ในทุกภูมิภาคให้สามารถบูรณาการองค์ความรู้ร่วมกันอย่างไร้พรมแดนสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างประสบการณ์ต่อประสบการณ์ โครงงานต่อโครงงาน แหล่งเรียนรู้ต่อแหล่งเรียนรู้ ในทุกรายวิชาและมุ่งให้ห้องสมุดดิจิทัลเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้สำหรับทุกช่วงวัย

               นอกจากนี้ ห้องสมุดดิจิทัลยังเป็น ฐานสืบค้นข้อมูลความรู้เพื่อสนับสนุนงานวิจัยและโครงงานประกอบการชุมชน การเรียนรู้เศรษฐกิจฐานราก ด้วยระบบที่เชื่อมโยงเครือข่ายการเรียนรู้ดังกล่าวมา ห้องสมุดดิจิทัล จึงเป็นฐานข้อมูลที่สำคัญของงานวิจัยและพัฒนา ของสถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน ให้บรรลุผลตามมาตรฐานคุณภาพอุดมศึกษา และเชื่อมโยงให้เกิดผลสำเร็จในการสร้างสรรค์ความมั่นคงเข้มแข็งต่อระบบเศรษฐกิจฐานราก สังคม และวัฒนธรรมของชุมชนท้องถิ่น

    e-library

    โครงสร้างสำนักหอสมุดฯ

    ปรัชญา

               สร้างสรรค์ พัฒนา ทรัพยากรและสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ทุกช่วงวัย 

    วิสัยทัศน์

              ให้บริการ สนับสนุนองค์ความรู้การประกอบการชุมชน การเรียนรู้เศรษฐกิจฐานราก ข้อมูลงานวิจัย ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อตอบสนองการเรียนรู้ทุกช่วงวัย

    พันธกิจ

    ๑. พัฒนาระบบการเรียนรู้ที่ตอบสนองความต้องการและสามารถเข้าถึงได้โดยง่ายในทุกช่วงวัย

    ๒. พัฒนาระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลด้วยเทคโนโลยีอันทันสมัย

    ๓. ให้บริการสืบค้นข้อมูลวิชาการและถ่ายทอดองค์ความรู้ แก่นักศึกษา ชุมชนท้องถิ่นและชุมชนอื่น

    วัฒนธรรมองค์กร

    มีจิตบริการ ทำงานเป็นทีม เรียนรู้ร่วมกัน

    ค่านิยมหลัก

    • สร้างสรรค์
    • พัฒนา
    • เผยแพร่

    จุดแข็ง

              ๑. มีองค์ความรู้ที่หลากหลายจากการจัดกระบวนการเรียนรู้ของนักศึกษา

              ๒. มีการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้เพื่อลดขั้นตอนการบริการ

              ๓. มีแหล่งทรัพยากรสารสนเทศที่ผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงได้โดยง่ายทุกช่วงวัย

    จุดอ่อน

              ๑. การประชาสัมพันธ์บริการ และกิจกรรมยังไม่สามารถทำให้ผู้รับบริการที่เป็นกลุ่มเป้าหมายรับทราบและมาใช้บริการอย่างทั่วถึง

              ๒. อุปกรณ์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมีประสิทธิภาพต่ำ อีกทั้งมีจำนวนไม่พอต่อการให้บริการ และการปฏิบัติงาน อีกทั้งยังขาดงบประมาณในการซ่อมบำรุง