จำนวนผู้ชม 14

ธุรกิจต้องปรับตัวอย่างไรดี? กับกฎหมาย PDPA

          นึกถึงเวลาที่เรากําลังคุยกับเพื่อนหรือเข้าเว็บ Shopping Online เว็บไหนนาน ๆ หรือบ่อย ๆ ก็จะมีโฆษณาสินค้าที่คุณเข้าไปส่องสินค้าบ่อย ๆ แสดงขึ้นมาประหนึ่งว่ารู้ความคิดของเรา โดยก่อนหน้านี้เรา อาจจะเคยเจอการหว่านโฆษณาโดยอิงกลุ่มเป้าหมายแบบกว้าง ๆ เช่น กลุ่มอายุ, เพศ, ความสนใจ แต่ปัจจุบันเรา อาจเคยได้ยินว่า Social Media อาจมีการดักฟังคําสนทนาของเราเพื่อเสิร์ฟโฆษณาให้ตรงกับแต่ละคน หรือมีการ ทํา Personalized Ads นั่นเอง ถึงสิ่งเหล่านี้จะแสดงให้เห็นว่าเราได้รับโฆษณาที่ตรงใจตัวเอง แต่มันก็มีเส้นบาง ๆ ระหว่างการเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวโดยที่เราไม่รู้ตัวนั่นเอง ซึ่งการปรับตัวของธุรกิจเพื่อรับกับกฎหมาย PDPA และข้อยกเว้นต่าง ๆ

            จะเห็นได้ว่า PDPA หรือ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล มีหัวใจสําคัญก็เพื่อต้องการรักษาสิทธิ แก่เจ้าของข้อมูลว่าข้อมูลส่วนตัวของเราจะปลอดภัย นําไปใช้อย่างถูกต้องเหมาะสมตามความต้องการและยินยอม ของเจ้าของข้อมูลอย่างแท้จริง อย่างไรก็ตามผู้เป็นเจ้าของข้อมูลก็ควรพิจารณาอย่างรอบคอบเช่นกันว่าการให้ ข้อมูลส่วนบุคคลในแต่ละครั้งเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์อะไร? ข้อมูลที่ให้ไปเพียงพอกับวัตถุประสงค์นั้นแล้วหรือยัง? หากมองว่ามีการให้ข้อมูลส่วนบุคคลนั้นไม่เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์ของการขอข้อมูล เราก็สามารถปฏิเสธการให้ ข้อมูลนั้นได้ เพื่อเป็นการป้องกันการนําข้อมูลไปใช้ในทางที่ผิดหรือหาผลประโยชน์จากข้อมูลส่วนบุคคลของเราก็ เป็นได้

        สําหรับในส่วนผู้เก็บข้อมูลนั้น นับว่าได้รับผลกระทบโดยตรงเป็นอย่างมากกับ PDPA ที่จะต้องปฏิบัติตาม ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลจึงต้องมีการกําหนดนโยบายความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลภายในองค์กรและให้ ความรู้แก่บุคคลากรในองค์กร, รู้ขอบเขตการเก็บรวบรวม การใช้ การเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคล, มีระบบการจัดเก็บ ข้อมูลส่วนบุคคลที่ปลอดภัย, มีการจํากัดการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล, มีการบันทึกกิจกรรมการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล สิ่งเหล่านี้ล้วนจําเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ควบคุมข้อมูลจะต้องปฏิบัติตามเพื่อให้สอดคล้องกับ PDPA

องค์กรต่าง ๆ จึงจําเป็นต้องสร้างนโยบายเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลก่อนที่จะได้ข้อมูลจากผู้บริโภค แน่นอนว่าองค์กรต่าง ๆ ต้องทําการขออนุญาตก่อน ซึ่งในเชิงของการขอเข้าถึงข้อมูลออนไลน์ จะต้องสร้างหน้า Privacy Policy เพื่ออธิบายและสร้างความเข้าใจเรื่องมาตรการปกป้องความเป็นส่วนตัวของข้อมูล เช่น เราจะเก็บข้อมูลใดบ้าง, วัตถุประสงค์ในการเก็บข้อมูลคืออะไร, ใช้อะไรในการเก็บรักษาข้อมูล เพื่อให้ผู้บริโภค สบายใจมากขึ้น และเราต้องสามารถเก็บรักษาข้อมูลให้เป็นความลับ ไม่มีการรั่วไหลออกไปให้ได้ เพื่อให้ถูกต้อง ตามข้อบังคับของ PDPA ด้วย

กองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ หมายเลขโทรศัพท์ ๐๒ ๑๔ ๑๓๔๗๐-๕ โทรสาร ๐๒ ๑๔๓ ๙๗๗๒-๓ E-mail : pr.ocpb@gmail.com

สำนักหอสมุดและสารสนเทศ สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน

.

จำนวนผู้ชม 1