Sat. Dec 21st, 2024

    เอกสารอ่านประกอบ หมวดวิชาเฉพาะ  วิชา เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาที่ยั่งยืน    

    ทรัพยากรประกอบการเรียนรู้  2/2563

    ชื่อวิชา เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาที่ยั่งยืน
    (
    Sustainable Development and Sufficiency economy)
    รหัสวิชา CE634201  หมวดวิชาเฉพาะ
    สาขาวิชาการพัฒนาชีวิตและประกอบการชุมชน
    (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563)
    สำนักหอสมุดและสารสนเทศ สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน
    (รวมจำนวน 22 ชื่อเรื่อง)

      ***ขอขอบคุณแหล่งที่มาของเอกสารอ่านประกอบในรูปแบบ E-book – PDF***

    บรรณนิทัศน์

    ชื่อเรื่อง : เศรษฐกิจพอเพียงในกระแสโลกาภิวัฒน์

     

    สาระสังเขป:
              
    หนังสือเล่มนี้ได้รวบรวมความรู้เกี่ยวกับพื้นฐานความเข้าใจร่วมกันเบื้องต้นเหตุปัจจัยที่มาแห่งปัญหา เศรษฐกิจพอเพียงในฐานะหลักการองค์รวมและสากลยุทธศาสตร์สู่ฐานเศรษฐกิจสามัญชน
    บรรณานุกรม:
              
    เสน่ห์ จามริก.(๒๕๕๐). เศรษฐกิจพอเพียงในกระแสโลกาภิวัตน์. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ สำนักงาน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

    แหล่งที่มา:     หนังสือหมวดสังคมศึกษา (H) งานห้องสมุด สำนักหอสมุดและสารสนเทศ สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน 

     

    ชื่อเรื่อง : ประมวลคำในพระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ตั้งแต่พุทธศักราช ๒๔๙๓-๒๕๔๙ ที่เกี่ยวข้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

     

    สาระสังเขป:
              หนังสือเล่มนี้ได้รวบรวมความรู้เกี่ยวกับการ ประมวลคำในพระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ตั้งแต่พุทธศักราช ๒๔๙๓-๒๕๔๙ ที่เกี่ยวข้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ได้แบ่งหมวดหมู่ต่างๆ ให้เป็นไปตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อสะดวกต่อการศึกษาค้นคว้า เพื่อเข้าใจถึงความหมายของปรัชญาฯ สู่การปฏิบัติในวิถีชีวิต เพื่อความมั่นคงยั่งยืนอย่างแท้จริง
    บรรณานุกรม:
               คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2550). ประมวลคำในพระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช       ตั้งแต่พุทธศักราช ๒๔๙๓-๒๕๔๙ ที่เกี่ยวข้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. พิมพ์ครั้งที่ 5.
     (ม.ป.ท.: ม.ป.พ.).

    ชื่อเรื่อง : ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

    สาระสังเขป:
              หนังสือเล่มนี้รวบรวมแนวคิด และการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในระดับต่างๆ โดมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับน้อมนำไปใช้เป็นแนวทางพื้นฐานในการดำเนินชีวิตของประชาชนทุกระดับ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้และนำไปปรับใช้เป็นแนวทางการดำเนินชีวิต        
    บรรณานุกรม:
               สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักยุทธศาสตร์ด้านนโยบายสาธารณะ.          (2557). ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. พิมพ์ครั้งที่ 4. (ม.ป.ท: ม.ป.พ.)

    ชื่อเรื่อง : การประยุกต์ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง

    สาระสังเขป:
              หนังสือเล่มนี้ได้รวบรวมสาระสำคัญ ๒ ส่วน คือ เป็นหลักการเรื่องปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติของทุกฝ่ายและประชาชนทั่วไป ส่วนที่สอง คือ เป็นแนวทางการประยุกต์ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในระดับและกลุ่มอาชีพต่างๆ      
    บรรณานุกรม:
             คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม     แห่งชาติ. (2550). การประยุกต์ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง. (ม.ป.ท.: ม.ป.พ.)

    ชื่อเรื่อง : จากปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ

    สาระสังเขป:

              หนังสือเล่มนี้เรียบเรียงจากปาฐกถาและการสัมภาษณ์พิเศษผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่านที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นอย่างดี ได้อธิบายแนวทางและหลักการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิต การศึกษา การบริหารธุรกิจ การพัฒนาชุมชน การเกษตร และการพัฒนาประเทศ เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม
    บรรณานุกรม:
                สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2551). จากปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่         การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : เพชรรุ่งการพิมพ์.

    ชื่อเรื่อง :เศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่  Sufficiency Economy and the New Theory

     

     

    สาระสังเขป:

              หนังสือเล่มนี้ได้รวบรวมความรู้เกี่ยวกับความพอเพียงในการดำรงชีวิต ซึ่งเป็นพื้นฐานในการพึ่งตนเอง ดำเนินชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรีภายใต้อำนาจและความมีอิสระในการกำหนดชะตาชีวิตของตนเอง ความสามารถควบคุมและจัดการให้ตนเองได้รับการสนองตอบความต้องการ จัดการปัญหาต่างๆ ได้ด้วยตนเอง   
    บรรณานุกรม:
              สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา. (2550). เศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่  Sufficiency Economy and the      New Theory. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

    ชื่อเรื่อง :ชีวิตพอเพียง 

    สาระสังเขป:
              หนังสือเล่มนี้รวบรวมแนวทางการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของบุคคลต่างๆ ในหลากหลายสาขาอาชีพที่ได้นำมาปรับใช้ทั้งในชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพ เพื่อจุดประกายความคิดในการนำไปประยุกต์ใช้ต่อไป   บรรณานุกรม:
            สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2550). ชีวิตพอเพียง. กรุงเทพฯ : ดอกเบี้ย.

     

    ชื่อเรื่อง : ชุมนุมความคิดปรับทิศชุมชนท้องถิ่น

    สาระสังเขป:
              หนังสือเล่มนี้เป็นการรวมปาฐกถาและบรรยายพิเศษในเวที “ฟื้นพลังชุมชนท้องถิ่นสู่การอภิวัฒน์ประเทศไทย” ที่ต้องร่วมสร้างสิ่งที่ดีงามและกำหนดความเป็นไปของสังคม รวมทั้งยังคาดหวังให้ได้หลุดออกจากการครุ่นคิดต่อสิ่งที่อยู่แต่ในพื้นที่ของตน เปิดโลกออกมารับรู้ เพื่อกระตุ้นแรงบันดาลใจทั้งที่กำลังงอกงามหรือที่กำลังจะหมดสภาพจากแรงกระแทกรอบๆ ตัว
    บรรณานุกรม:
                   เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่. (2555). ชุมนุมความคิดปรับทิศชุมชนท้องถิ่น. (ม.ป.ท.) : ที คิว พี.

    ชื่อเรื่อง :อนาคตที่เราต้องการ
     (
    The future we want) 

    สาระสังเขป:
              หนังสือเล่มนี้เป็นคำแปลเอกสารผลลัพธ์การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน ของกระทรวงทรัพยากรธรราติและสิ่งแวดล้อม มีเนื้อหาประกอบด้วยวิสัยทัศน์ร่วม การยืนยันคำมั่นทางการเมือง เศรษฐกิจสีเขียวในบริบทของการพัฒนาที่ยังยืนและการขจัดความยากจน กรอบสถาบันเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน การอบงานเพื่อการปฏิบัติและการติดตามผล และกลไกการดำเนินงาน
    บรรณานุกรม:
               สำนักความร่วมมือด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวง      ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2556). อนาคตที่เราต้องการ (The future we want).         กรุงเทพฯ : อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พัลลิชชิ่ง.

    ชื่อเรื่อง : 

    สาระสังเขป:
                              หนังสือเล่มนี้รวบรวมความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้งภาค 1 และภาค 2 ว่าด้วยเรื่องทางตันของการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน เมื่อโลกมีการพัฒนา จะพัฒนาอย่างไร จึงกลายเป็นการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน จะทำอย่างไร ในเมื่อสิ่งที่พาตัวมาเจอปัญหาก็คือสิ่งที่พาตัวมาสู่ความเจริญ การพัฒนาที่ยั่งยืนของโลกมากกับการพัฒนาความสุขที่ยั่งยืนของคน 
    บรรณานุกรม:
                             สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2538). การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development).

              (ม.ป.ท.: ม.ป.พ.).

    ชื่อเรื่อง : สังเคราะห์องค์ความรู้เศรษฐกิจพอเพียง

    สาระสังเขป:
              หนังสือเล่มนี้เป็นการรวมความรู้จากโครงการสังเคราะห์องค์ความรู้เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งได้สำรวจสถานะองค์ความรู้ (Status of Knowledge) เกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่มีอยู่ และสังเคราะห์องค์ความรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการสร้างความเข้าใจ การถ่ายทอดความรู้ และการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ทั้งในด้านการวางนโยบาย/แผนและการนำไปปฏิบัติต่อไป
    บรรณานุกรม:
                  อภิชัย พันธเสน (บรรณาธิการ). (2549). สังเคราะห์องค์ความรู้เศรษฐกิจพอเพียง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ :      สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

    ชื่อเรื่อง : 

    าระสังเขป:
              หนังสือเล่มนี้รวบรวมความรู้เกี่ยวกับยุทธศาสตร์ชาติฉบับประชาชน ที่มีเป้าหมายคือ ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข เศรษฐกิจพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สังคมเป็นธรรม ฐานทรัพยากรธรรมชาติยั่งยืน
    บรรณานุกรม:
              สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (ม.ป.ป.). ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ.2561-2580) ฉบับ        ประชาชน. (ม.ป.ท.: ม.ป.พ.).

    ชื่อเรื่อง : 

    สาระสังเขป:
              แผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับนี้ จัดทำขึ้นโดยน้อมนำหลัก “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” มาเป็นปรัชญานำทางในการพัฒนาประเทศต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙-๑๑ เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและช่วยให้สังคมไทยยืนหยัดได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน เพื่อกำกับทิศทางและเกิดประสิทธิภาพสู่การพัฒนาเพื่อประโยชน์สุขที่ยั่งยืนของสังคมไทย 
    บรรณานุกรม:
                 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (ม.ป.ป.). แผนพัฒนา       เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ.๒๕๖๐-๒๕๖๔. (ม.ป.ท.: ม.ป.พ.)

    ชื่อเรื่อง : เศรษฐกิจชีวภาพ

    สาระสังเขป:
              หนังสือเล่มนี้ทำให้เห็นถึงความสำคัญ และเกิดความสนใจในสะเต็มศึกษา ที่เป็นฐานสำหรับอาชีพจำนวนมากที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เพราะเกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจชีวิภาพ    
    บรรณานุกรม:
               สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (2561). เศรษฐกิจชีวภาพ. ปทุมธานี: สำนักงานพัฒนา     วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ.

    ชื่อเรื่อง :คู่มือตัวอย่างความสำเร็จการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประเภทธุรกิจขนาดย่อม 

    สาระสังเขป:
              คู่มือฉบับนี้มีความต้องการใช้คู่มือส่งเสริมสนับสนุนและสร้างความเข้าใจการน้อมนำใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาคธุรกิจ จะเป็นแรงกระตุ้นให้ผู้ประกอบการ นักธุรกิจ หันมาทำธุรกิจตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
    บรรณานุกรม:
                           สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.). (2560). คู่มือตัวอย่างความสำเร็จการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประเภทธุรกิจ     ขนาดย่อม. พิมพ์ครั้งที่ 2. (ม.ป.ท.): แอ็บโซลูท มังกี้.

    ชื่อเรื่อง : ตัวอย่างความสำเร็จการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประเภทชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนบ้านท่าเรือ

    สาระสังเขป:
             คู่มือฉบับนี้รวบรวมความรู้ตัวอย่างความสำเร็จการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประเภทชุมชนเศรษฐกิจพอเพียงของบ้านท่าเรือ อำเภอท่าเรือ จังหวัดนครพนม เป็นประโยชน์และสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ผู้นำชุมชนและคนในชุมชนอื่นๆ ได้น้อยนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้   
    บรรณานุกรม:
    สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.).    (2556). ตัวอย่างความสำเร็จการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประเภทชุมชน    เศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนบ้านท่าเรือ. กรุงเทพฯ : เทพเพ็ญวานิสย์.

    ชื่อเรื่อง : ทฤษฎีของพ่อสู่วิถีแห่งความพอเพียง โครงการส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ในเขตปฏิรูปที่ดิน

     

    สาระสังเขป:

              หนังสือเล่มนี้นำเสนอต้นแบบความสำเร็จของการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ จำนวน 28 ตัวอย่าง จากทุกภูมิภาคในพื้นที่เขตปฏิรูปที่ดินที่น้อมนำแนวทางการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ มาปรับใช้จนประสบความสำเร็จบนพื้นฐานของความพอเพียง 

    บรรณานุกรม:
    กองประสานงานโครงการพระราชดำริและโครงการพิเศษ (กปร.) สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม        (ส.ป.ก.). (2559). ทฤษฎีของพ่อสู่วิถีแห่งความพอเพียง โครงการส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ในเขต        ปฏิรูปที่ดิน. (ม.ป.ท.: ม.ป.พ.)

     

     

    ชื่อเรื่อง : คู่มือตัวอย่างความสำเร็จการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประเภทเกษตรกรทฤษฎีใหม่

    สาระสังเขป:
              คู่มือฉบับนี้ได้นำเสนอต้นแบบความสำเร็จในการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือ นายประพันธ์ ศรีสุวรรณ มีศักยภาพและความพร้อมในการถ่ายทอดและเป็นแหล่งเรียนรู้การเกษตรบนฐานของข้อมูล ความรู้ และซื่อสัตย์สุจริต และแบ่งปัน
    บรรณานุกรม:
    สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.).    (2560). คู่มือตัวอย่างความสำเร็จการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประเภทเกษตรกร ทฤษฎีใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 2. (ม.ป.ท.): แอ็บโซลูท มังกี้.