ปัจจุบันนี้ การต่อสู้เพื่อปลดปล่อยโลกที่สามเป็นไปอย่างกว้างขวาง เป้าหมายร่วมกัน ของขบวนการต่อสู้ทั้งหลายก็คือ การกอบกู้ ศักดิ์ศรีของความเป็นคน กลับมาสู่ประชาชน เรือนแสนเรือนล้านที่ถูกกดขี่เอารัดเอาเปรียบ เปลวเพลิงแห่งการปฏิวัติได้ถูกจุดขึ้นเกือบทุกหนทุกแห่งในโลกที่มีการกดขี่ ลาตินอเมริกา อาฟริกา เอเซีย ในยุคนี้เองที่ประวัติศาสตร์ ได้สร้างนักปฏิวัติขึ้นมากมาย มีความแตกต่าง กันไปในเรื่องทฤษฎีการปฏิวัติและการเมือง มากบ้างน้อยบ้างตามเงื่อนไขของเวลาและถิ่น กําเนิด หลายคนได้ต่อสู้จนสิ้นชีวิตไป เช่น ฟรานซ์ท เฟนอน แห่งแอลจีเรียและอาฟริกา หรือที่รู้จักกันดีในคนหนุ่มสาวของเมืองไทย
อย่าง เช กูวานา แห่งลาตินอเมริกา โฮจิมินห์ แห่งเวียดนาม เรือ อองซาน แห่งพม่า แม้ จะมีความแตกต่างทางแนวคิดบางประการ แต่ นักปฏิวัติที่แท้จริงทุกคนมีสิ่งที่ร่วมกันอยู่ นั้นก็คือ ความรักในเพื่อนมนุษย์ รักความยุติธรรมเป็นชีวิต จิตใจ จงเกลียดจงชังการกดขี่ข่มเหง เปาโล แฟรง เป็นอีกคนหนึ่งที่ประกาศตนเป็นนักปฏิวัติของ โลกที่สาม แม้จะยังไม่มีผลงานที่เด่นชัด (อย่าง ของ เช กูวารา) ที่จะยืนยันพิสูจน์ทฤษฎีของ เขา การศึกษาสําหรับผู้ถูกกดขี (PEDAGOGY OF THE OPPRESSED) หนังสือที่ดีที่สุดของเขา ก็เป็นที่กล่าวขวัญถึงอย่างมากในหมู่นักต่อสู้ทั่ว โลก ตั้งแต่นักบวช (ผู้เห็นความทุกข์ยากของ มวลชน) ในศาสนจักรจนถึงนักรบจรยุทธตาม ป่าเขา ความเป็นมาของชีวิตและแนวคิดของ เขา เป็นสิ่งที่น่าสนใจสําหรับนักต่อสู้ร่วมสมัย แห่งบ้านเรา