โลกยุคโลกาภิวัตน์ ในปัจจุบันมุ่งพัฒนาในเรื่องของเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และวัฒนธรรมเทคโนโลยีและการสื่อสาร มากยิ่งขึ้น ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและความซับซ้อนในสังคม โดยเฉพาะในส่วนของการมีปฏิสัมพันธ์หรือการสร้างสัมพันธภาพระหว่างคนในสังคมทั่วโลก การสื่อสารที่แพร่ขยายอย่างรวดเร็วทำให้โลกเล็กลงนําไปสู่ความสัมพันธ์ของคนที่ง่ายต่อการติดต่อสื่อสารกันมากขึ้น วัฒนธรรมในพื้นที่หนึ่งๆ นั้นจึงมีอยู่อย่างหลากหลายและมีสัมพันธภาพต่อกัน
ภาษาท้องถิ่นเป็นภาษาที่พูดกันในท้องถิ่นต่างๆ ของประเทศไทย ในแต่ละท้องถิ่นจะมีภาษาท้องถิ่นของตนเอง ที่แตกต่างกันไปตามภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมของท้องถิ่นนั้นๆ
การฟังเป็นทักษะทางการสื่อสารที่อยู่ในประเภทของการรับสาร และยังเป็นทักษะการใช้ภาษาที่ใช้มากที่สุดใน ชีวิตประจำวัน กล่าวได้ว่าทักษะการฟังนั้นเกิดขึ้นก่อนการพูด การอ่าน และการเขียน เพราะทักษะการฟังเกิดขึ้นตามธรรมชาติ ตั้งแต่แรกเกิด
การพูดเป็นการสื่อสารระหว่างมนุษย์ เพื่อถ่ายทอดความคิด ความรู้สึก ข่าวสารและ ความรู้สึกจากผู้พูดไปสู่ผู้ฟังโดยเสียง กระบวนการเคลื่อนไหวของร่างกาย การฝึกฝนปฏิบัติของบุคคลที่จะ สื่อสารและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ จุดมุ่งหมายร่วมอยู่ที่การมุ่งเสนอความคิดเพื่อให้เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน โดยอาศัยภาษาและเสียงพูดเป็นสื่อ
แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนการภาษาอังกฤษในปัจจุบันมีหลายแนวคิด มีทั้งแนวคิดเกี่ยวกับการจัดหลักสูตร แนวคิดเกี่ยวกับแนวการสอน และแนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ แนวคิดทั้ง 3 นี้ มีส่วนช่วยครูผู้สอนในการตัดสินใจวางแผนจัดการเรียนการสอน การคัดเลือกกิจกรรมประกอบการเรียนการสอน ตลอดจนเลือกสื่อการเรียนรู้ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับครูผู้สอนที่จะต้องศึกษาทำความเข้าใจเพื่อช่วยให้ การสอนของตนเองมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
เป็นการถ่ายโอนความรู้สึก ความคิด ความเข้าใจไปสู่ผู้ฟังได้รับรู้ และเข้าใจเจตนารมณ์ของผู้พูด การฝึกทักษะพูดถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญมากปัจจัยหนึ่งในการเรียนภาษาอังกฤษ เพราะว่าการพูดเป็นการสื่อให้ทราบว่าผู้พูดสามารถใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างถูกต้องเหมาะสมกับสถานการณ์จริง
เมื่อเรียนวิชานี้แล้ว ผู้เรียนมีความสามารถ ดังนี้
๑.๑ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาษาและวัฒนธรรมการใช้ภาษา
๑.๒ เรียนรู้การใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารและการสืบค้น
๑.๓ พัฒนาทักษะการฟัง อ่าน พูด และเขียนภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาท้องถิ่นตามบริบททางสังคมวัฒนธรรม